IN THIS SECTION
- พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 37
- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
- อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 37
- คำแนะนำสำหรับคุณแม่
พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 37
My Baby This Week
ในช่วงสัปดาห์ที่ 37 นี้ ลูกน้อยของคุณแม่คุณพ่อจะมีขนาดความยาวของร่างกายประมาณ 45.7 เซนติเมตร หรือ 18 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 2.7 กิโลกรัม ถึง 3.2 กิโลกรัม หรือ 6 ปอนด์ ถึง 7 ปอนด์ ขนาดจะใกล้เคียงกับผลแตงขมิ้น (Canary melon)
โดยในช่วงนี้ ศีรษะของทารกจะมีขนาดเส้นรอบศีรษะเท่ากับขนาดเส้นรอบอก และเกิดรอยบุ๋มบริเวณข้อศอก หัวเข่า หัวไหล่ รวมไปถึงรอยพับที่บริเวณคอ และข้อมือ
พัฒนาการที่สำคัญในช่วงนี้คือ ปอดของทารกที่พัฒนาจนพร้อมใช้งานแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก ดังนั้นทารกจึงเริ่มฝึกหายใจเข้า และ หายใจออก ควบคู่ไปกับการฝึกดูดนิ้วโป้ง สำหรับการดื่มนมแบบเข้าเต้า (Breastfeeding) หลังคลอด รวมไปถึงการฝึกกระพริบตา ถือเป็นการฝึกทักษะการปกป้องดวงตาหลังคลอด (Labor)
นอกจากนี้ ทารกได้มีการพัฒนาความคล่องแคล่วของนิ้วมือจนสามารถที่จะจับสิ่งของเล็กๆเช่น จมูก นิ้วเท้า ของตัวเองได้แล้ว และในช่วงนี้ ทารกจะลดการเตะ และ ต่อย ลง เนื่องจากพื้นที่ภายในครรภ์ (Womb) นั้นมีไม่มากแล้ว ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปการขยับของทารกจะเปลี่ยนเป็นการยืด การกลิ้ง การบิดตัว และการพลิกตัว มากกว่าการเตะและต่อย
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 37
My Body
เมื่อเข้าช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 คุณแม่อาจไม่ได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) จากสูตินรีแพทย์ (Obstetricians) แล้ว หากไม่มีอาการผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ สิ่งที่สำคัญในช่วงนี้คือการนับจำนวนครั้งในการขยับร่างกายของลูกน้อยในครรภ์ เช่น การเตะ การต่อย การพลิกตัว เป็นต้น หากคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยมีการขยับร่างกายที่น้อยลงกว่าปกติควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
นอกจากนี้ คุณแม่ควรระวังการคลอดก่อนกำหนด (Preterm birth) หากคุณแม่มีแผนที่จะคลอดลูกน้อยก่อนกำหนดควรคิดทบทวนและปรึกษาแพทย์ก่อน แม้ในช่วงสัปดาห์ที่ 37 นี้ พัฒนาการด้านต่างๆของทารก (Fetal development) ถือว่าสมบูรณ์เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ผลการวิจัยพบว่าทารกที่คลอดในช่วงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ และ 38 สัปดาห์ มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคประจำตัวมากกว่าทารกที่คลอดในช่วงอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ และ 40 สัปดาห์ กว่า 10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดมากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด (Full term) ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์และหาวิธีหลีกเลี่ยงการคลอดก่อนกำหนดที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 37
My Body
เมื่อเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 11.3 กิโลกรัม ถึง 15.9 กิโลกรัม หรือ 25 ปอนด์ ถึง 35 ปอนด์ โดยทารกควรลงมาอยู่ที่บริเวณเชิงกราน (Pelvic) ของคุณแม่แล้ว และมีลักษณะแบบหัวลง (Head down) หรือเรียกว่า ศีรษะนำ ด้วยลักษณะท้องที่มีขนาดใหญ่และหย่อนลง คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการท้องแตกลาย (Stretch marks) เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรหมั่นทาครีมลดรอยแตกลายไปจนกว่าจะถึงช่วงวันใกล้คลอด โดยครีมที่คุณแม่เลือกใช้นั้นควรผ่านการตรวจสอบจากแพทย์ก่อนการนำไปใช้จริง
และในช่วงนี้ คุณแม่หลายท่านอาจเริ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญนั่นคือ การขยายตัวของปากมดลูก (Cervix dilation) ที่จะค่อยๆเริ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยคุณหมอจะเริ่มทำการตรวจการขยายตัวของปากมดลูก เพื่อตรวจสอบว่าคุณแม่จะคลอดในอีกกี่วัน หรือ อีกกี่สัปดาห์ ซึ่งปกติแล้วปากมดลูกจะต้องเปิดกว้าง 10 เซนติเมตร เพื่อที่ทารกจะสามารถผ่านช่องคลอด (Birth canal) ออกมาได้ นอกจากนี้คุณหมอยังตรวจสอบว่าปากมดลูกนุ่ม (Cervical Ripeness) แล้วหรือไม่ ปากมดลูกบางตัว (Cervix effacement) แล้วหรือไม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานับจากสัปดาห์นี้ ดังนั้นหากคุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 37
Signs & Common Symptoms of Pregnancy
1. อาการตกขาว (Vaginal discharge) ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นปกติ โดยในช่วงนี้มักมีสีขาวอมชมพูหรือในบางกรณีมีเลือด (Blood) ปนออกมาด้วยเนื่องจากปากมดลูกกำลังขยายตัว
2. อาการปวดเชิงกราน (Pelvic pain)
3. อาการตะคริวที่ขา คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลากลางวัน รวมไปถึงทานอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมและแคลเซียม ซึ่งถั่วอัลมอนด์มีสารอาหารเหล่านี้อยู่ครบถ้วน
4. . ปัญหาในการนอนหลับ อาจเป็นได้ทั้งอาการหลับยาก หรือปัญหาการนอนหลับที่ไม่เพียงพอจากหลายปัจจัย เช่น การปวดขา อาการแสบร้อนกลางอก อาการปวดปัสสาวะบ่อย เป็นต้น คุณแม่ควรหาเวลานอนในช่วงกลางวัน และหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำบนเตียงก่อนนอน จะช่วยลดปัญหานี้ได้ หากคุณแม่มีปัญหาในการนอนหลับติดต่อกันเป็นเวลานานควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
คำแนะนำสำหรับคุณแม่
The Doc Says
ช่วงนี้การดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ นอกจากจะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์สุขภาพดีแล้วยังช่วยลดอาการบวม (Edema) ของคุณแม่ได้อีกด้วย นอกจากนี้คุณแม่ควรทานอาหารให้ครบห้าหมู่ เน้นทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย และปลาที่อุดมไปด้วยไขมันดี คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอเพื่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านระบบประสาทและกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ รวมไปถึงควรได้รับธาตุเหล็ก ปริมาณ 27 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสามารถพบได้ใน ตับ ผักใบเขียวอย่าง ผักโขม เป็นต้น
แม้การออกกำลังกายแบบเบาจะทำได้ลำบากในช่วงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คุณแม่ควรยืดเส้นยืดสายและออกไปเดินข้างนอกบ้าง อุปกรณ์ที่แนะนำให้คุณแม่ซื้อไว้ใช้สำหรับการออกกำลังกายหลังจากสัปดาห์นี้คือลูกบอลโยคะ ซึ่งจะช่วยให้การออกกำลังกายนั้นทำได้ง่ายขึ้น โดยคุณแม่ควรเลือกลูกบอลโยคะคุณภาพดี ทำมาจากวัสดุที่ไม่แตกง่าย และมีขนาดที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่
+ To Do: Go over birth plan and consider practice run to hospital