IN THIS SECTION
- พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 34
- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
- อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 34
- คำแนะนำสำหรับคุณแม่
พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 34
My Baby This Week
ในช่วงสัปดาห์ที่ 34 นี้ ลูกน้อยของคุณแม่คุณพ่อจะมีขนาดความยาวของร่างกายประมาณ 44.5 เซนติเมตร หรือ 17.5 นิ้ว และ มีน้ำหนักตั้งแต่ 2.3 กิโลกรัม ถึง 2.5 กิโลกรัม หรือ 5 ปอนด์ ถึง 5.5 ปอนด์ ขนาดจะใกล้เคียงกับผลสัปะรด (Pineapple) โดยในช่วงนี้ทารกจะมีลักษณะมีน้ำมีนวลมาก มากขึ้นเนื่องจากไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังใกล้สมบูรณ์แล้ว ทำให้คุณแม่คุณพ่อสามารถเห็นลักษณะใบหน้า บางส่วนของลูกน้อยได้แล้วจากการตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
พัฒนาการที่สำคัญนอกจากการสะสมของไขมันใต้ผิวหนัง ที่จะช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทารก ยังมีพัฒนาการในส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง ที่พัฒนาจนใกล้สมบูรณ์แล้ว ส่งผลให้การรับรู้ของทารกดีขึ้นกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทารกจะเริ่มมีตารางเวลาการนอนที่แน่นอน ขณะหลับทารกจะหลับตา และลืมตาเมื่อถึงเวลาตื่น ถือเป็นการฝึกสำหรับการใช้ชีวิตนอกครรภ์
นอกจากนี้ในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ยังเป็นช่วงที่จะสามารถแบ่งเพศของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนแล้ว โดยทารกเพศชายได้พัฒนาอัณฑะจนสมบูรณ์ จากการพัฒนาในช่วง 2 ไตรมาสแรก อัณฑะยังพัฒนาอยู่ที่บริเวณท้อง ในสัปดาห์นี้อัณฑะจะลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของพัฒนาการ
สุขภาพของทารกในช่วงสัปดาห์ที่ 34
Baby's Health
ในช่วงนี้หากคุณแม่มีแผนที่จะท่องเที่ยว ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ คุณแม่ควรพบสูตินรีแพทย์ (Obstetricians) เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ (Hepatitis A) วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ บี (Hepatitis B) และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (Influenza)
สำหรับคุณแม่ที่มีแผนการคลอดก่อนกำหนด (Preterm birth) แม้เด็กที่เกิดด้วยอายุครรภ์ 34 สัปดาห์จะมีโอกาสรอดมากกว่าเด็กที่เกิดด้วยอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ แต่คุณแม่ก็ควรระวังโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กที่เกิดก่อนกำหนด ซึ่งมักมีอาการหายใจลำบาก เนื่องจากปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์และยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับระบบหายใจ ดังนั้นหากคุณแม่ที่คาดว่าจะคลอดลูกน้อยก่อนกำหนด ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 34
My Body
ในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์นี้ คุณแม่จะเริ่มสังเกตได้ว่าหน้าท้องหย่อนลงมามากกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากทารกในครรภ์ขยับลงมาอยู่ที่บริเวณเชิงกราน ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ คุณแม่จึงจะรู้สึกปวดปัสสาวะมากกว่าปกติ อย่างไรก็ดี การที่ทารกขยับลงมาด้านล่างของลำตัว ก็ได้เปิดพื้นที่บริเวณซี่โคร่งมากขึ้น คุณแม่อาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในการหายใจว่าสามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น
คุณแม่อาจมีอาการตาพร่ามัว ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่การมองเห็นของคุณแม่จะแย่ลง แต่การผลิตน้ำตาที่น้อยลง ก็ทำให้มีอาการตาแห้งและคันตาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีของเหลวเพิ่มขึ้นบริเวณหลังเลนส์ของลูกตา ทำให้รูปร่างของเลนส์เปลี่ยนไป คุณแม่บางท่านอาจมีอาการสายตาสั้น หรือ คุณแม่บางท่านอาจมีอาการสายตายาว โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อคุณแม่คลอดลูกน้อยแล้ว สายตาจะกลับไปเป็นปกติ อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรพบแพทย์เมื่อเกิดอาการตาพร่ามัว เพื่อขอคำปรึกษาและรับการวินิฉัย เนื่องจากอาการตาพร่ามัวที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 34
Signs & Common Symptoms of Pregnancy
1. อาการปวดหลัง เกิดขึ้นเนื่องจากการขยายใหญ่ของท้องอย่างต่อเนื่อง และจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายที่เปลี่ยนไป คุณแม่สามารถลดอาการปวดหลังได้ด้วยการยืดเส้นยืดสาย ลุกขึ้นยืน และ เดิน การนั่งนานๆจะยิ่งทำให้อาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้น
2. อาการท้องผูก คุณแม่ที่มีอาการนี้ควรทานผลไม้แห้ง ผลไม้สด ผัก และธัญพืชไม่ขัดสีมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการทานยาระบาย หากอาการท้องผูกรุนแรงขึ้น คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการทานยาขณะตั้งครรภ์
3. ภาวะเส้นผมเติบโตเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ไม่ใช่เพียงเส้นผมบนศีรษะของคุณแม่เท่านั้นที่จะเติบโตและยาวเร็วขึ้น แต่ยังรวมไปถึงการเกิดของเส้นผมในที่ไม่พึงประสงค์เช่น แก้ม คาง แผ่นหลัง เป็นต้น ซึ่งหากคุณแม่ต้องการกำจัดเส้นผมเหล่านี้ คุณแม่สามารถเข้ารับการแว็กซ์ได้ แต่ควรเป็นสูตรสำหรับผิวแพ้ง่าย
4. อาการตกขาวที่เพิ่มมากขึ้น (Vaginal discharge) เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโทรเจนที่เพิ่มมากขึ้น การใส่กางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายจะช่วยระบายความอับชื้นได้ดี
การดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตัวของคุณแม่
The Doc Says
ในช่วงนี้คุณแม่คารใส่แว่นตากันแดด และพกยาหยอดตาที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้จากแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการตาแห้งและระคายเคืองดวงตา รวมถึงสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม และสวมใส่บราที่เหมาะสม
นอกจากนี้คุณแม่ไม่ควรรับประทานอาหารที่เค็มจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้อาการบวมรุนแรงขึ้น คุณแม่ควรรับปริมาณโซเดียม ตามที่แพทย์แนะนำ ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และออกกำลังกายแบบเบา