IN THIS SECTION
- พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 28
- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
- อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 28
- คำแนะนำสำหรับคุณแม่
พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 28
My Baby This Week
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของช่วงไตรมาสที่3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอีกไม่นานก็ถึงเวลาต้อนรับทารกตัวน้อยสู่โลกใบใหญ่แล้ว ในช่วงไตรมาสที่ 3นี้ ถือเป็นช่วงที่คุณแม่อาจต้องเผชิญกับความท้ายอีกครั้ง เนื่องจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ยังคงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางร่างกายและด้านอารมณ์อย่างต่อเนื่อง
ทารกยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์นี้มีความยาวประมาณ 37.6 เซนติเมตร น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม หรือมีขนาดพอๆ กับหัวผักกาด (A head of lettuce)
สมองเริ่มพัฒนาสู่โครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยมีการพัฒนารอยหยักสมอง และมีการสร้างเซลล์สมองเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผม ขนคิ้ว ขนตา ก็เริ่มดกหนาขึ้น และร่างกายก็มีการสะสมไขมันมากยิ่งขึ้น ทำให้ผิวหนังเต่งตึงและดูอ้วนท้วนสมบูรณ์ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้ ยังสามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้นของทารกได้ชัดเจนขึ้นโดยผ่านหูฟังของแพทย์ หรือหากคุณพ่อแนบหูลงบนหน้าท้องของคุณแม่ก็อาจได้ยินเช่นกัน โดยอัตราการเต้นของหัวใจของทารกจะเริ่มลดลงตามลำดับ จนขณะนี้อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 130 ครั้งต่อนาที แต่ก็ยังเต้นเร็วกว่าของคุณแม่อยู่ดี เนื่องจากว่าขนาดหัวใจของทารกยังมีขนาดเล็ก และยังสูบฉีดเลือดได้ไม่มากพอ จึงจำเป็นต้องเร่งความเร็วขึ้น เพื่อให้รักษาความอบอุ่นให้แก่ทารกตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 28
My Body
คุณแม่ส่วนใหญ่มักพบปัญหาอาหารไม่ย่อย และเกิดอาการแสบกลางอกจากกรดไหลย้อนบ่อยๆ ในช่วงนี้ เนื่องจากว่าฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ทั่วร่างกายเกิดการคลายตัว ซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อในระบบทาง
เดินอาหาร และลิ้นปิดเปิดกระเพาะอาหารก็อาจหลวมและปิดไม่สนิท จนทำให้กรดในอาหารการเกิดรั่วซึมออกมา คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยในแต่ละมื้อ แต่รับประทานบ่อยขึ้น และไม่ควรนอนราบหลังจากรับประทานอาหารโดยทันที
นอกจากนี้ ด้วยมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจนไปเบียดกระบังลม หรือปอด อาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลานอน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้คุณแม่นอนตะแคง โดยใช้หมอนหนุนท้อง และรองหัวเข่าไว้เพื่อช่วยรองรับน้ำหนักและป้องกันการกดทับ
อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 28
Signs & Common Symptoms of Pregnancy
อาการที่คุณแม่มักพบเจอในช่วงสัปดาห์นี้ ได้แก่
- วิตกกังวล เครียดง่าย
- ริดสีดวงทวาร ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้เส้นเลือดบริเวณรอบทวารหนักบวม และอาจทำให้ขับถ่ายลำบาก
- ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานและหัวหน่าว
- ปวดหลัง
- เหงือกบวมและเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน
- รู้สึกเจ็บปวดบริเวณด้านข้างของหน้าท้อง เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยืดตัวเพื่อรองรับมดลูกที่โตขึ้น
- หายใจลำบาก
- เป็นตะคริวบริเวณขา โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
- ภาวะโลหิตจาง
- ปวดศีรษะ
- เลือดกำเดาไหล
- เจ็บหน้าอก
- เวียนศีรษะ
- ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ติดเชื้อในช่องคลอด
- รับประทานอาหารมากขึ้น
- ท้องอืด
- ท้องผูก
- แสบกลางอกจากรดไหลย้อน
- มีตกขาว ซึ่งตามปกติ จะมีสีขาวและไม่มีกลิ่น แต่ถ้ามีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป หรือมีอาการคันผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
- ผิวหนังบนใบหน้ามีสีคล้ำเป็นปื้นๆ หรือเป็นฝ้า เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หลังคลอดจะหายไปเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวล
- ผมดกขึ้นหรือขนหนาขึ้น
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในสัปดาห์ที่28
The Doc Says
ในช่วงนี้ สิ่งที่ควรระมัดระวังมากที่สุดสำหรับคุณแม่ คือการติดเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ทารกเกิดการติดเชื้อไปด้วย โดยมีป้องกันการติดเชื้อที่คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1.ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังจากที่ต้องสัมผัสกับเด็ก หรืออุจจาระ ปัสสาวะของเด็ก ซึ่งอาจติดเชื้อ
ไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) หรือ CMVและอาจส่งผลต่อความผิดปกติของการพัฒนาสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์ได้
2.สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงแมวภายในบ้าน ควรหลีกเลี่ยงการอุ้มแมว หรือล้างถาดอุจจาระแมว เพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคทอกโซพลาสโมซิส (toxoplasmosis)ที่มากับอุจจาระแมวดังนั้น ควรให้คุณพ่อหรือคนอื่นในบ้านช่วยทำงานนี้จะดีกว่า
3.หากคุณแม่ติดเชื้ออีสุกอีใส (Chickenpox) ระหว่างตั้งครรภ์อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นคือ โรคปอดบวม
ในขณะเดียวกัน โรคอีสุกอีใสสามารถส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์และเกิด โรคอีสุกอีใสแต่กำเนิด(congenital varicella syndrome) แม้จะเป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่หากคุณแม่เกิดเป็นโรคอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับวัคซีนป้องกันทันที
นอกจากนี้ ยังควรปฏิบัติตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการ ดังนี้
- เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเตรียมตัวสำหรับการคลอด การดูแลสุขภาพ และการดูแลทารก โดยควรให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วมด้วย
- ควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาอาการท้องอืด และความอยากอาหารมากขึ้นกว่าปกติ โดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของทารกในครรภ์
- เตรียมวางแผนการลาคลอด โดยควรทำความเข้าใจกับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานเพื่อเคลียร์งานหรือในการเตรียมการทำงานในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอด
- งดสูบบุหรี่
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนโดยปริมาณคาเฟอีนที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่า กาแฟสำเร็จรูป 2 แก้ว ต่อวัน การได้รับปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไปอาจส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาจเป็นสาเหตุของภาวะแท้งได้
- รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี วิตามินซี โฟเลต และแคลเซียมอย่างเพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 150นาที ต่อสัปดาห์
- หมั่นสร้างความสัมพันธ์กับทารกน้อยในครรภ์ด้วยการพูดคุย ร้องเพลง หรือสัมผัสท้อง และควรให้คุณพ่อและคนในครอบครัวมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน
เรามาลุ้นกันต่อว่าในสัปดาห์ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยอีกบ้าง
+ M.D. Visit Planner: Discuss preterm labor symptoms and plan
+ M.D. Visit Planner: Talk to doctor about RhoGAM