BabyToddlersKids
BabyToddlersKids
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
  • ตั้งครรภ์
    • ดูทั้งหมด
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester)
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (Second Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Third Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 41
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 42
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 43
  • เด็กวัยแรกเกิด
    • ดูทั้งหมด
    • Parenting The Parent
    • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement)
      • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7)
        • เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 สัปดาห์ (Newborn to 1 week old baby)
        • เด็กอายุ 2 สัปดาห์ (2 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 3 สัปดาห์ (3 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 7 สัปดาห์ (7 Weeks Old Baby)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 6 เดือน (First Year - 6 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 8 เดือน (First Year - 8 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 10 เดือน (First Year - 10 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 11 เดือน (First Year - 11 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 12 เดือน (First Year - 12 Months Old)
    • การให้อาหารทารก (Feeding)
      • Alternative methods of infant feeding
        • Alternative methods of infant feeding
      • การให้นมจากขวด (Bottle Feeding)
        • นมผงสำหรับทารก (Formula Feeding)
      • การให้นมแม่ (Breast Feeding)
        • การให้นมแม่
      • อาหารบด (Solids)
        • อาหารเสริมสำหรับทารก (Solid Foods)
    • วัคซีน (Vaccinations)
      • วัคซีน (Vaccine Basic)
        • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กปลอดภัยหรือไม่? Are Immunizations safe?
        • การฉีดวัคซีนในเด็ก (The Importance of Vaccines)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็กทารก (Baby Sleep)
        • การกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับ (Getting Baby to Sleep)
        • การนอนของเด็กแรกเกิด (Baby Bedtime Routine)
        • การนอนหลับในเด็ก (Baby Sleep)
        • ฝึกเด็กวัยแรกเกิดให้นอนเองและนอนได้นาน (Baby Sleep Training Strategies)
  • เด็กวัยหัดเดิน
    • ดูทั้งหมด
    • พัฒนาการเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Development)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Toddler Development - Month by Month)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็ก (Sleep)
    • การเล่น (Playtime)
    • อุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Gears)
      • จานและชามสำหรับทานอาหารของเด็กวัยหัดเดิน (Plates and Bowls for Toddler)
      • รั้วกั้นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Safety Gates)
      • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน (Toddler safety products)
      • เก้าอี้และโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (High Chair and Table for Toddler)
      • เตียงนอนสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Bed)
  • เด็กก่อนวัยเรียน
    • ดูทั้งหมด
    • Covid-19
      • การเตรียมตัวเปิดเทอมในช่วงโควิด-19
      • หากสงสัยว่าลูกน้อยได้รับเชื้อไวรัส COVID 19
    • เด็กวัย 3 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • เด็กวัย 4 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
      • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
  • อุปกรณ์และของใช้เด็ก
    • ดูทั้งหมด
    • รถเข็น / คาร์ซีท / เป้อุ้ม และอุปกรณ์
      • คาร์ซีท (Carseat)
      • รถเข็น (Stroller)
      • อุปกรณ์อุ้มเด็ก (Baby Carrier)
    • อุปกรณ์การให้นม
      • ขวดนม (Milk Bottle)
      • จุกนม (Nipples)
      • หมอนรองให้นม (Nursing Pillow)
      • แปรงทำความสะอาดขวดนม (Bottle Brush)
    • เตียงนอนและอุปกรณ์ในห้องเลี้ยงเด็ก
      • ปลอกหุ้มเบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม (Changing pad cover)
      • เบาะนอนสำหรับเปลเด็ก (Crib Mattress)
      • เปลเด็ก (Crib and Mattress)
      • โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก (Dresser, Changing Table)
    • เสื้อผ้าและของใช้เด็กทารก
      • ชุดกลับบ้านของลูกน้อย (Going home outfit), หมวกสำหรับเด็ก (Baby cap)
      • ผ้าห่อตัวเด็ก (Swaddle), เสื้อคลุมเด็ก (Wearable blanket), เสื้อแบบใส่และถอดด้านข้าง (Side snap t-shirt)
PP 20K

Advertisement

Plug&Play
  • สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 4
  • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5

  • สัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์ที่ 6
สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 5
35
weeks to go

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5

IN THIS SECTION

  • พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 5

  • การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่

  • อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 5
  • คำแนะนำสำหรับคุณแม่


พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 5
My Baby This Week

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 ระบบประสาทของตัวอ่อนจะเริ่มพัฒนาขึ้นอีกระดับ อวัยวะสำคัญต่างๆ เริ่มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น โดยลักษณะของตัวอ่อนในระยะนี้อาจจะดูคล้ายลูกอ๊อดมากกว่าทารก มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร หรือขนาดเท่าเมล็ดงาเท่านั้นเอง

แม้จะยังมีขนาดเล็กอยู่ แต่การพัฒนาระบบการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายยังคงเป็นอย่างต่อเนื่อง หัวใจ ดวงเล็กๆ กำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง และเริ่มเต้นเป็นจังหวะคงที่ พร้อมกับที่ระบบไหลเวียนโลหิตเริ่มทำงาน ในขณะที่ระบบเส้นเลือดก็กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยจะมีเส้นเลือดเส้นหนึ่งที่เชื่อมโยงตัวอ่อนน้อยๆ กับคุณแม่ ซึ่งจะกลายเป็นสายสะดือต่อไปในอนาคตอันใกล้ สายสะดือจะเชื่อมต่อกับรก ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วในช่วงนี้ โดยจะทำหน้าที่นำพาสารอาหาร เลือด และออกซิเจนมายังตัวอ่อน พร้อมทั้งกำจัดของเสียจากตัวอ่อนออกไปด้วย เรียกได้ว่า รก จะทำหน้าที่เป็นทั้งตู้เสบียงอาหารและห้องน้ำให้แก่ลูกน้อยในอนาคตของคุณเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ใบหน้าของลูกน้อยในอนาคตเริ่มสังเกตเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้นด้วย โดยมีดวงตา 2 ข้าง และจมูก รวมทั้ง สมองและกระดูกสันหลังก็จะพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
My Body

ในสัปดาห์ที่5 ฮอร์โมนตั้งครรภ์ หรือ ฮอร์โมน hCG (human chorionic gonadotropin) ที่เพิ่มขึ้น เริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่แต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป หรือในบางกรณีก็ไม่มีอาการเลย

อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 5
Signs & Common Symptoms of Pregnancy

อาการแพ้ท้องที่อาจเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ได้แก่

  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บหน้าอก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • หงุดหงิดง่าย
  • วิตกกังวล
  • อารมณ์แปรปรวน
  • รับประทานอาหารมากขึ้น
  • ท้องอืดบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • รู้สึกถึงรสชาติเหล็กในปาก
  • ความรู้สึกไวต่อกลิ่นและความชอบในการกินที่เปลี่ยนไป
  • ปวดเกร็งบริเวณท้องคล้ายปวดประจำเดือน
  • ผิวหนังบนใบหน้ามีสีคล้ำเป็นปื้นๆ หรือเป็นฝ้า เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หลังคลอดจะหายไปเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวล
  • มีตกขาว ซึ่งตามปกติ จะมีสีขาวและไม่มีกลิ่น แต่ถ้ามีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป หรือมีอาการคันผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด (Implantation Bleeding) หรือตามที่คนโบราณมักเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” แต่เลือดที่ออกมาในช่วงนี้จะต่างจากเลือดประจำเดือน โดยจะออกมาปริมาณเล็กน้อย และมีสีชมพูจางๆ หรือน้ำตาล ไม่ได้เป็นสีแดงสดเหมือนเลือดประจำเดือนตามปกติ อาการนี้ถือเป็นสิ่งปกติในหญิงตั้งครรภ์ และพบเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการนี้ ดังนั้น ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวลมากนัก

คำแนะนำสำหรับคุณแม่
The Doc Says

  • ได้รับปริมาณกรดโฟลิก หรือ โฟเลต ที่เพียงพอ

เนื่องจากในระยะนี้ ตัวอ่อนมีการพัฒนาด้านระบบประสาท สมอง และกระดูกสันหลังอย่างรวดเร็ว การได้รับกรดโฟลิก
อย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญ กรดโฟลิก หรือ โฟเลต นั้นเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างหลอดประสาทของตัวอ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยการป้องกันความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์อีกด้วย โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานกรดโฟลิก ขนาด 0.4 มิลลิกรัม/วัน อาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกได้แก่ ไข่แดง ตับผักใบเขียวเข้ม ผักคะน้า แครอท แคนตาลูป ฟักทอง ถั่ว ผักบุ้ง ตำลึง เอพริคอต อะโวคาโด เป็นต้น

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงการติดเชื้อ

คุณแม่ควรระมัดระวังการรับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น โรคลิสทีเรีย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า โรคลิสเทอริโอซิส (Listeriosis) ที่มีอาการคล้ายโรคหวัดทั่วไป โรคนี้สามารถถ่ายทอดจากคุณแม่สู่ตัวอ่อนในครรภ์ได้หากติดเชื้อ และอาจทำให้เกิดภาวะแท้ง หรือก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ได้ เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโรคดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  • ชีสหรือเนยสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เช่น เฟต้าชีส ชีสนมแพะ ชีสกอมมองแบรต์ และบลูชีส เป็นต้น
  • นมดิบ
  • แอปเปิ้ลไซเดอร์
  • ไข่ดิบ หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของไข่ดิบ เช่น มูส และทีรามิสุ
  • เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ทะเลดิบๆ
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หากต้องการรับประทาน ต้องปรุงให้สุกก่อน
  • ปลาที่มีสารปรอทตกค้างสูง เช่น ปลาฉลาม ปลาฉนาก ปลาอินทรีย์ และปลา Tilefish

นอกจากนี้ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงแมวภายในบ้านก็ต้องระมัดระวังการติดเชื้อโรคทอกโซพลาสโมซิส (toxoplasmosis) ที่มากับอุจจาระแมวด้วย ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการอุ้มแมว หรือล้างถาดอุจจาระแมว ให้คุณพ่อหรือคนอื่นในบ้านช่วยทำงานนี้จะดีกว่า

เรามาลุ้นกันต่อว่าในสัปดาห์ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่และเจ้าตัวน้อยอีกบ้าง

  • สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 4
  • สัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์ที่ 6
ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

https://americanpregnancy.org/week-by-week/5-weeks-pregnant/

https://kidshealth.org/en/parents/week5.html

https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/5-weeks-pregnant/

http://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/fact_sheet/5_58.pdf

http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id=892

https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/1st-trimester/week-five/

http://www.sc.mahidol.ac.th/usr/?p=178

https://americanpregnancy.org/pregnancy-health/folic-acid/

www.thaihealth.or.th

Advertisement

{{ad1_name}}
{{ad2_name}}
{{ad3_name}}

Most Related

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3

การตั้งครรภ์ในสัปดาห์นี้ คุณแม่บางท่านอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังตั้งท้องจนกว่าจะได้รับการตรวจยืนยันจากแพทย์


ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 รูปร่างของตัวอ่อนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมากนัก แต่อาจเพิ่มขนาดเล็กน้อย ถุงตา หูส่วนใน เริ่มพัฒนา ขณะที่แขนขาส...


ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10

ศีรษะของตัวอ่อนจะมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ใบหน้ามีความละม้ายคล้ายเด็กทารกมากยิ่งขึ้น


ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

Novakdjokovicfoundation.org, teaching children good manners

https://novakdjokovicfoundation.org/teaching-children-good-manners/

findababysitter.org, blog, 10 ways to teach your toddler manners

https://www.findababysitter.org/blog/10-ways-to-teach-your-toddler-manners/

kidspot.com.au, parenting, toddler, toddler development, your toddler at 32 months

https://www.kidspot.com.au/parenting/toddler/toddler-development/your-toddler-at-32-months/news-story/549dde84de1acfaabeace487ed4b7633

theplab.net, 32 months old

https://theplab.net/32-months-old/

zerotothree.org, resources, from baby to big kid month 32

https://www.zerotothree.org/resources/1273-from-baby-to-big-kid-month-32

photo : Stocksy_Sally Anscombe

BabyToddlersKids

BabyToddlersKids.com เป็น The trustworthy pregnancy and baby information site. ที่ให้พ่อแม่ยุคดิจิตอล ที่ต้องการหาข้อมูล องค์ความรู้ เกี่ยวกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยก่อนเข้าเรียน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก สามารถนำข้อมูลจาก BabyToddlersKids.com ไปเป็นข้อมูลประกอบในการเตรียมพร้อม และดูแลลูกในด้านต่างๆ ต่อไป





Contact Us


  • [email protected]

388/52 ชิคดิสทริค
รามคำแหง 53 ถนนรามคำแหง พลับพลา
กรุงเทพมหานคร


Connect with us

  • TRACK พัฒนาการทารกในครรภ์

    กดปุ่ม Join Us เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ พร้อมข้อมูล คำแนะนำจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกในครรภ์และคุณแม่

    ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่พลาดการติดตามพัฒนาการลูก

  • Join Us

© 2019 babytoddlerskids.com. All Rights Reserved.