IN THIS SECTION
- พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์สัปดาห์ที่ 4
- การเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและร่างกาย
- อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 4
- อาการและอาการแสดงทั่วไปของคุณแม่
พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์สัปดาห์ที่ 4
My Baby This Week
สัปดาห์ที่ 4 นี้ ตัวอ่อนในระยะเอ็มบริโอ (Embryo) จะเติบโตอย่างเร็ว แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ โดยจะมีความยาวประมาณ 1.98 มิลลิเมตร และตัวอ่อนจะฝังตัวลึกลงในมดลูกเพื่อรับเลือดและออกซิเจนจากร่างกายของคุณแม่มากยิ่งขึ้น ในระยะนี้
เซลล์ตัวอ่อนจะแบ่งชั้นออกเป็น 3 ชั้น ในแต่ละชั้นจะพัฒนากลายเป็นอวัยวะภายในและส่วนต่างๆ ของร่างกายทารกต่อไป
- ชั้นนอกสุด จะพัฒนาเป็นส่วนของสมองและระบบประสาท เลนส์ตา ผิวเคลือบฟัน ผิว และเล็บ
- ชั้นกลาง จะพัฒนาเป็น หัวใจ เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และกระดูก
- ชั้นในสุด จะพัฒนาเป็นระบบการหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะภายในต่างๆ ได้แก่ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน และกระเพาะปัสสาวะ
ตัวอ่อนในช่วงนี้จะติดอยู่กับถุงไข่แดง (Yolk Sac) ที่ทำหน้าที่ผลิตเลือดแก่ตัวอ่อน จนกว่ารกจะได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์เพื่อเป็นช่องทางลำเลียงเลือดและอาหารสู่ตัวอ่อนในสัปดาห์ต่อๆ ไป โดยตัวอ่อนในสัปดาห์ที่ 4 นี้จะถูกโอบอุ้มอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่ช่วยปกป้องตัวอ่อนไปตลอดอายุครรภ์ นอกจากนี้ จะสามารถสังเกตเห็นปุ่มเล็กๆ ตามลำตัว ที่กำลังจะพัฒนาเป็นแขนและขาอีกด้วย
ในขณะที่เซลล์ตัวอ่อนกำลังพัฒนาอวัยวะภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องนั้น เซลล์ของรกก็เจริญเติบโตและฝังลึกลงในมดลูกมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลำเลียงเลือดที่นำพาออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงตัวอ่อนอย่างเพียงพอ
การเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและร่างกาย
Body Changes
ในระหว่างที่เซลล์รกกำลังฝังตัวลึกเข้าไปในมดลูกนั้น ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของคุณแม่ในช่วงนี้คือ ระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์ หรือ ฮอร์โมน hCG (human chorionic gonadotropin) จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน เพื่อส่งสัญญาณให้รังไข่หยุดปล่อยไข่ระหว่างเดือน ซึ่งนั่นทำให้ประจำเดือนของคุณแม่ขาดไปนั่นเอง
ฮอร์โมนชนิดนี้นี่เองที่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ท้องที่ชัดเจนมากขึ้นในคุณแม่หลายๆ คน โดยคุณแม่บางคนอาจต้องเจอกับอาการต่อไปนี้
- อ่อนเพลีย
- เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- หงุดหงิดง่าย
- วิตกกังวล
- อารมณ์แปรปรวน
- รับประทานอาหารมากขึ้น
- ท้องอืดบ่อย
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ความรู้สึกไวต่อกลิ่นและความชอบในการกินที่เปลี่ยนไป
- ปวดเกร็งบริเวณท้องคล้ายปวดประจำเดือน
- มีตกขาว ซึ่งตามปกติ จะมีสีขาวและไม่มีกลิ่น แต่ถ้ามีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป หรือมีอาหารคันผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
- มีเลือดออกทางช่องคลอด (Implantation Bleeding) หรือตามที่คนโบราณมักเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” แต่เลือดที่ออกมาในช่วงนี้จะต่างจากเลือดประจำเดือน โดยจะออกมาปริมาณเล็กน้อย และมีสีชมพูจางๆ หรือน้ำตาล ไม่ได้เป็นสีแดงสดเหมือนเลือดประจำเดือนตามปกติ อาการนี้ถือเป็นสิ่งปกติในหญิงตั้งครรภ์ และพบเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการนี้ ดังนั้น ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวลมากนัก
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการที่กล่าวมาข้างต้น คุณแม่บางคนอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป หรืออาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 4
Signs & Common Symptoms of Pregnancy
ฮอร์โมน hCG (human chorionic gonadotropin) ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้เกิดอาการแพ้ท้องที่ชัดเจนมากขึ้นในคุณแม่หลายๆ คน ดังนี้
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- หงุดหงิดง่าย
- วิตกกังวล
- อารมณ์แปรปรวน
- รับประทานอาหารมากขึ้น
- ท้องอืดบ่อย
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ความรู้สึกไวต่อกลิ่นและความชอบในการกินที่เปลี่ยนไป
- ปวดเกร็งบริเวณท้องคล้ายปวดประจำเดือน
- มีตกขาว ซึ่งตามปกติ จะมีสีขาวและไม่มีกลิ่น แต่ถ้ามีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป หรือมีอาการคันผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
- มีเลือดออกทางช่องคลอด (Implantation Bleeding) หรือตามที่คนโบราณมักเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” แต่เลือดที่ออกมาในช่วงนี้จะต่างจากเลือดประจำเดือน โดยจะออกมาปริมาณเล็กน้อย และมีสีชมพูจางๆ หรือน้ำตาล ไม่ได้เป็นสีแดงสดเหมือนเลือดประจำเดือนตามปกติ อาการนี้ถือเป็นสิ่งปกติในหญิงตั้งครรภ์ และพบเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการนี้ ดังนั้น ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวลมากนัก
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการดังกล่าว คุณแม่บางคนอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป หรืออาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่
The Doc Says
คุณแม่ควรเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการฝากครรภ์ เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การดูแลเรื่องอาหารการกินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ รวมทั้งการออกกำลังกายให้เหมาะสม โดยสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดว่า การออกกำลังกายประเภทใดบ้างที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้
เรามาลุ้นกันต่อว่าในสัปดาห์ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยอีกบ้าง