IN THIS SECTION
- พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 11
- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
- อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 11
- คำแนะนำสำหรับคุณแม่
พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 11
My Baby This Week
สัปดาห์นี้เป็นช่วงท้ายของไตรมาสแรกของคุณแม่แล้ว และตัวอ่อนก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน ในช่วงนี้ ขนาดของตัวอ่อนเพิ่มเป็นประมาณ 4-6 เซนติเมตร วัดจากศีรษะถึงก้น มีน้ำหนักประมาณ 14 กรัม หรือมีขนาดเท่าลูกสครอเบอรี่ ในขณะที่รกก็ขยายขนาดขึ้นเพื่อรองรับตัวอ่อนที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ลักษณะโดยรวมดูเหมือนเด็กทารกมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีศีรษะใหญ่กว่าลำตัว กระดูกบริเวณใบหน้าเริ่มพัฒนาขึ้น เปลือกตาปิดสนิท ใบหูเริ่มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้นแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ ลำตัวเริ่มยืดตรงมากขึ้น นิ้วมือและนิ้วเท้าเริ่มแยกออกจากกัน พร้อมทั้งมีเล็บมือเล็บเท้าเรียบร้อยแล้ว
ผิวหนังยังคงโปร่งใส ขณะที่กระดูกเริ่มแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มเตะขาและเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ เพียงแต่คุณแม่ยังคงไม่รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวนี้ ส่วนอวัยวะเพศภายนอกนอกกำลังพัฒนาใกล้สมบูรณ์ โดยคุณแม่คุณพ่อจะสามารถรู้เพศของลูกน้อยในไม่ช้านี้แล้ว
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 11
My Body
ในสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจสังเกตถึงหน้าท้องที่เพิ่มขนาดขึ้นเล็กน้อย และรอบเอวเพิ่มขึ้น เป็นเพราะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณหน้าท้องเริ่มขยายตัว เพราะมดลูกเริ่มขยายตัวนั่นเอง นอกจากนี้ หน้าอก ของคุณแม่ก็ขยายใหญ่ขึ้นจนอาจไม่สามารถเสื้อชั้นในตัวเดิมได้แล้ว แนะนำว่าคุณแม่ควรหาเสื้อชั้นในที่รองรับเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น หรือ ลองหาเสื้อชั้นในสำหรับคนท้องได้แล้วในช่วงนี้
เนื่องด้วยขนาดตัวอ่อนที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่างกายของคุณแม่จะผลิตเลือดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 เพื่อหล่อเลี้ยงตัวอ่อนอย่างเพียงพอ ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกร้อนมากกว่าปกติ ดังนั้น ในช่วงนี้ ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
นอกจากนี้ คุณแม่อาจยังสังเกตได้ว่า ผมและเล็บยาวเร็วกว่าปกติ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังหาคำตอบที่แน่ชัดไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด เพียงแต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์
อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 11
Signs & Common Symptoms of Pregnancy
ปวดท้อง
อาการปวดท้อง ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ เพราะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณท้องเกิดการยืดตัวเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก หรืออาจเกิดจากอาการท้องผูก หรือมีลมที่ถูกกักอยู่ในช่องท้อง อาการเหล่านี้จะหายไปได้เองเมื่อคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถ นอนพัก หรือขับถ่ายออกไป
อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดท้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง และไม่หายไป อาจเป็นสัญญาณของภาวะฉุกเฉินอื่นๆ เช่น ภาวะท้องนอกมดลูก หรือภาวะแท้ง โดยหากคุณแม่ควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการปวดท้องรุนแรง หรือเกิดขึ้นกะทันหัน และมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดบริเวณหัวไล่
- มีของเหลวสีน้ำตาลออกจากช่องคลอด
- หน้ามืด เป็นลม
- รู้สึกขัดขณะอุจจาระหรือปัสสาวะ
รู้สึกร้อนมากกว่าปกติ
ในช่วงนี้ อัตราการเผาผลาญของร่างกายคุณแม่จะเพิ่มขึ้น และทำงานหนักขึ้น เพราะมีอีกหนึ่งที่ชีวิตในตัวคุณ ขณะที่ร่างกายจะผลิตปริมาตรเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงต่ออ่อนเพิ่มมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกร้อนกว่าปกติ จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังนี้
- หายใจลำบาก
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- หงุดหงิดง่าย
- วิตกกังวล
- อารมณ์แปรปรวน
- รับประทานอาหารมากขึ้น
- ท้องอืดบ่อย
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ความรู้สึกไวต่อกลิ่นและความชอบในการกินที่เปลี่ยนไป
- ปวดเกร็งบริเวณท้องคล้ายปวดประจำเดือน
- มีตกขาว ซึ่งตามปกติ จะมีสีขาวและไม่มีกลิ่น แต่ถ้ามีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป หรือมีอาการคันผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
- มีเลือดออกทางช่องคลอด (Implantation Bleeding) หรือตามที่คนโบราณมักเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” แต่เลือดที่ออกมาในช่วงนี้จะต่างจากเลือดประจำเดือน โดยจะออกมาปริมาณเล็กน้อย และมีสีชมพูจางๆ หรือน้ำตาล ไม่ได้เป็นสีแดงสดเหมือนเลือดประจำเดือนตามปกติ อาการนี้ถือเป็นสิ่งปกติในหญิงตั้งครรภ์ และพบเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการนี้ ดังนั้น ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวลมากนัก
- รู้สึกถึงรสชาติเหล็กในปาก
- ปวดเกร็งบริเวณท้องคล้ายปวดประจำเดือน
- ผิวหนังบนใบหน้ามีสีคล้ำเป็นปื้นๆ หรือเป็นฝ้า เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หลังคลอดจะหายไปเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวล
- ผิวหนังมันและมีจุดด่างดำ
- ผมดกขึ้นหรือขนหนาขึ้น
- มีเส้นสีดำกลางท้อง (จะหายไปเองหลังคลอด)
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 11
The Doc Says
ในคุณแม่บางราย ยังคงต้องต่อสู้กับอาการแพ้ท้อง จนทำให้หนักลด หรือ ในบางราย ก็มีอยากรับประทานอาหารมากขึ้นจนน้ำหนักขึ้น โดยจากข้อมูลของ American Pregnancy Association น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI ในช่วงปกติ คือ ตั้งแต่ 18.5-24.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 11.3-15.9 กิโลกรัม
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายยังคงมีความสำคัญสำหรับตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ โดยช่วงนี้แนะนำให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และ 6 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและสายตาของลูกน้อยในครรภ์ โดยอาหารที่พบโอเมก้า 3 และ 6 มาก ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน หากคุณแม่รู้สึกอยากอาหาร ก็แนะนำให้เตรียมเมล็ดทานตะวันไว้ใกล้ตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานอื่นๆ ที่มีน้ำตาลและไขมันสูง อย่าลืมว่า หากคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ลูกในท้องก็จะได้รับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ไปด้วย
+ M.D. Visit Planner: Talk to doctor about screening tests