BabyToddlersKids
BabyToddlersKids
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
  • ตั้งครรภ์
    • ดูทั้งหมด
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester)
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (Second Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Third Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 41
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 42
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 43
  • เด็กวัยแรกเกิด
    • ดูทั้งหมด
    • Parenting The Parent
    • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement)
      • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7)
        • เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 สัปดาห์ (Newborn to 1 week old baby)
        • เด็กอายุ 2 สัปดาห์ (2 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 3 สัปดาห์ (3 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 7 สัปดาห์ (7 Weeks Old Baby)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 6 เดือน (First Year - 6 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 8 เดือน (First Year - 8 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 10 เดือน (First Year - 10 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 11 เดือน (First Year - 11 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 12 เดือน (First Year - 12 Months Old)
    • การให้อาหารทารก (Feeding)
      • Alternative methods of infant feeding
        • Alternative methods of infant feeding
      • การให้นมจากขวด (Bottle Feeding)
        • นมผงสำหรับทารก (Formula Feeding)
      • การให้นมแม่ (Breast Feeding)
        • การให้นมแม่
      • อาหารบด (Solids)
        • อาหารเสริมสำหรับทารก (Solid Foods)
    • วัคซีน (Vaccinations)
      • วัคซีน (Vaccine Basic)
        • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กปลอดภัยหรือไม่? Are Immunizations safe?
        • การฉีดวัคซีนในเด็ก (The Importance of Vaccines)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็กทารก (Baby Sleep)
        • การกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับ (Getting Baby to Sleep)
        • การนอนของเด็กแรกเกิด (Baby Bedtime Routine)
        • การนอนหลับในเด็ก (Baby Sleep)
        • ฝึกเด็กวัยแรกเกิดให้นอนเองและนอนได้นาน (Baby Sleep Training Strategies)
  • เด็กวัยหัดเดิน
    • ดูทั้งหมด
    • พัฒนาการเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Development)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Toddler Development - Month by Month)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็ก (Sleep)
    • การเล่น (Playtime)
    • อุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Gears)
      • จานและชามสำหรับทานอาหารของเด็กวัยหัดเดิน (Plates and Bowls for Toddler)
      • รั้วกั้นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Safety Gates)
      • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน (Toddler safety products)
      • เก้าอี้และโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (High Chair and Table for Toddler)
      • เตียงนอนสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Bed)
  • เด็กก่อนวัยเรียน
    • ดูทั้งหมด
    • Covid-19
      • การเตรียมตัวเปิดเทอมในช่วงโควิด-19
      • หากสงสัยว่าลูกน้อยได้รับเชื้อไวรัส COVID 19
    • เด็กวัย 3 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • เด็กวัย 4 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
      • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
  • อุปกรณ์และของใช้เด็ก
    • ดูทั้งหมด
    • รถเข็น / คาร์ซีท / เป้อุ้ม และอุปกรณ์
      • คาร์ซีท (Carseat)
      • รถเข็น (Stroller)
      • อุปกรณ์อุ้มเด็ก (Baby Carrier)
    • อุปกรณ์การให้นม
      • ขวดนม (Milk Bottle)
      • จุกนม (Nipples)
      • หมอนรองให้นม (Nursing Pillow)
      • แปรงทำความสะอาดขวดนม (Bottle Brush)
    • เตียงนอนและอุปกรณ์ในห้องเลี้ยงเด็ก
      • ปลอกหุ้มเบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม (Changing pad cover)
      • เบาะนอนสำหรับเปลเด็ก (Crib Mattress)
      • เปลเด็ก (Crib and Mattress)
      • โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก (Dresser, Changing Table)
    • เสื้อผ้าและของใช้เด็กทารก
      • ชุดกลับบ้านของลูกน้อย (Going home outfit), หมวกสำหรับเด็ก (Baby cap)
      • ผ้าห่อตัวเด็ก (Swaddle), เสื้อคลุมเด็ก (Wearable blanket), เสื้อแบบใส่และถอดด้านข้าง (Side snap t-shirt)
PP 20K

Advertisement

Plug&Play
  • สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 9
  • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10

  • สัปดาห์ที่ 11 สัปดาห์ที่ 11
สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 10
30
weeks to go

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10

IN THIS SECTION

  • พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 10
  • การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
  • อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 10
  • คำแนะนำสำหรับคุณแม่

พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 10
My Baby This Week

ในสัปดาห์นี้ ตัวอ่อนพัฒนามาถึงช่วงสุดท้ายของระยะตัวอ่อน และจะเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป ในช่วงนี้ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในหลายๆ ด้าน เริ่มที่ขนาดของตัวอ่อน โดยมีความยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร หรือขนาดเท่ากับผลมะนาว

ศีรษะของตัวอ่อนจะมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ใบหน้ามีความละม้ายคล้ายเด็กทารกมากยิ่งขึ้น โดยปรากฏให้เห็นดวงตาที่มีเปลือกตาปิดอยู่ครึ่งหนึ่ง และสามารถตอบสนองต่อกับแสงได้ ริมฝีบนเริ่มปรากฏให้เห็น พร้อมกับโพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง
ในขณะเดียวกัน กระดูกขากรรไกรก็กำลังพัฒนาไปพร้อมๆ กับฟันน้ำนมในอนาคต

นิ้วมือ พัฒนาสมบูรณ์ ไม่ได้เป็นพังผืดอีกต่อไป รวมทั้งเล็บมือและเล็บเท้าก็กำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างด้วยเช่นกัน

อวัยวะภายในหลักๆ ได้แก่ ไต ตับ สมอง และปอด นั้น สามารถทำงานได้แล้ว แต่ยังต้องพัฒนาต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดคลอด ขณะที่หัวใจ ได้พัฒนาอย่างสมบูรณ์ มีอัตราการเต้น 180 ครั้งต่อนาที ซึ่งเต้นเร็วกว่าหัวใจของคุณแม่ถึง 2-3 เท่า

นอกจากนี้ ตัวอ่อนในช่วงนี้สามารถกลืนน้ำคร่ำ และเตะขาได้แล้ว เพียงแต่คุณแม่ยังคงไม่รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวนี้

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 10
My Body

มดลูกของคุณแม่ยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตอนนี้มดลูกของคุณแม่จะมีขนาดประมาณเท่าผลส้มแล้ว ในตอนนี้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะถูกปล่อยออกมามากเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณมดลูก เพื่อให้กล้ามเนื้อขยายตัวในระหว่างที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโต คุณแม่จึงอาจจะรู้สึกอึดอัด หรือเกิดอาการท้องอืด เรอ หรือผายลมบ่อยๆ ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนนี้ก็ทำให้กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารเกิดการคลายตัวด้วยเช่นกัน จนบ่อยครั้งส่งผลให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้

อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 10
Signs & Common Symptoms of Pregnancy
นอกจากอาการแพ้ท้องที่คุณแม่พบเจอมาหลายสัปดาห์แล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ที่ควรต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ดังนี้ คือ
อาหารไม่ย่อย และกรดไหลย้อน ในช่วงนี้ระบบย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานช้าลง ทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และ กรดไหลย้อนได้บ่อย

ปวดเกร็งคล้ายปวดประจำเดือน เป็นอาการปกติเพราะตัวอ่อนฝังตัวลงในมดลูก และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดได้ด้วย แต่ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่ถ้าคุณแม่กังวลกับอาการนี้ ควรปรึกษาแพทย์

เวียนศีรษะ เป็นลม อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความดันโลหิตต่ำ อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป หรือ อาจมีระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำก็ได้ หากเกิดอาการ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุที่แน่นอน

มีตกขาวมากขึ้น ตกขาวในช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งปกติ ซึ่งเป็นกลไกของร่างกายในการป้องกันการติดเชื้อใดๆ ในช่องคลอดไม่ให้ผ่านเข้าไปยังมดลูกได้ ซึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของตัวอ่อนที่กำลังเติบโตนั่นเอง แต่หากพบว่าตกขาวมีสีเปลี่ยนเป็นเหลือง หรือเขียว และมีกลิ่นแรง ควรพบแพทย์

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 10
The Doc Says
คุณแม่ควรได้รับการตรวจครรภ์และความปลอดภัยของทารกในครรภ์เป็นครั้งแรกในช่วงสัปดาห์นี้ โดยแพทย์ผดุงครรภ์ทำจะการตรวจหลายประการเพื่อตรวจสอบสุขภาพของทั้งคุณแม่และตัวอ่อนในครรภ์ โดยคุณแม่อาจต้องผ่านการตรวจดังต่อไปนี้

  • การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซิฟิลิส หรือเชื้อเอชไอวี
  • การตรวจหาหมู่เลือดและแอนติเจน Rh
  • การตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การตรวจอัลตราซาวด์ ที่คุณแม่จะได้เห็นเจ้าตัวน้อยเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์มักถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคติดเชื้อมากมาย ในสัปดาห์นี้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส คางทูม และหัด เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน คุณแม่ก็ควรดูแลรักษาสุขภาพตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน หรือการว่ายน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คุณแม่สามารถทำได้ตลอดการตั้งครรภ์

เรามาลุ้นกันต่อว่าในสัปดาห์ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยอีกบ้าง

  • สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 9
  • สัปดาห์ที่ 11 สัปดาห์ที่ 11
ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

แหล่งข้อมูลอ้างอิงในบทความนี้

https://americanpregnancy.org/week-by-week/10-weeks-pregnant/

https://kidshealth.org/en/parents/week10.html

https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/10-weeks-pregnant/

https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/1st-trimester/week-ten

https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/10-weeks-pregnant-whats-happening

Advertisement

{{ad1_name}}
{{ad2_name}}
{{ad3_name}}

Most Related

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1

อันที่จริงแล้ว ในช่วงสัปดาห์แรกนั้น ยังไม่ถือว่าคุณตั้งครรภ์ แต่เป็นเพียงช่วงเวลาที่ร่างกายคุณกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์


ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3

การตั้งครรภ์ในสัปดาห์นี้ คุณแม่บางท่านอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังตั้งท้องจนกว่าจะได้รับการตรวจยืนยันจากแพทย์


ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5

ลักษณะของตัวอ่อนในระยะนี้อาจจะดูคล้ายลูกอ๊อดมากกว่าทารก แม้จะยังมีขนาดเล็กอยู่ แต่การพัฒนาระบบการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายยังคงเป็นอย่างต่อเนื่อง


ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2

ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ก็ยังไม่ถือว่าคุณตั้งครรภ์อยู่ดี  แต่เป็นช่วงเวลานาทีทองที่จะสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์เพราะเป็นช่วงของ 'การตกไข่'


ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์ที่ 4 นี้ ตัวอ่อนในระยะเอ็มบริโอ (Embryo) จะเติบโตอย่างเร็ว แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่


ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

Novakdjokovicfoundation.org, teaching children good manners

https://novakdjokovicfoundation.org/teaching-children-good-manners/

findababysitter.org, blog, 10 ways to teach your toddler manners

https://www.findababysitter.org/blog/10-ways-to-teach-your-toddler-manners/

kidspot.com.au, parenting, toddler, toddler development, your toddler at 32 months

https://www.kidspot.com.au/parenting/toddler/toddler-development/your-toddler-at-32-months/news-story/549dde84de1acfaabeace487ed4b7633

theplab.net, 32 months old

https://theplab.net/32-months-old/

zerotothree.org, resources, from baby to big kid month 32

https://www.zerotothree.org/resources/1273-from-baby-to-big-kid-month-32

photo : Stocksy_Sally Anscombe

BabyToddlersKids

BabyToddlersKids.com เป็น The trustworthy pregnancy and baby information site. ที่ให้พ่อแม่ยุคดิจิตอล ที่ต้องการหาข้อมูล องค์ความรู้ เกี่ยวกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยก่อนเข้าเรียน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก สามารถนำข้อมูลจาก BabyToddlersKids.com ไปเป็นข้อมูลประกอบในการเตรียมพร้อม และดูแลลูกในด้านต่างๆ ต่อไป





Contact Us


  • [email protected]

388/52 ชิคดิสทริค
รามคำแหง 53 ถนนรามคำแหง พลับพลา
กรุงเทพมหานคร


Connect with us

  • TRACK พัฒนาการทารกในครรภ์

    กดปุ่ม Join Us เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ พร้อมข้อมูล คำแนะนำจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกในครรภ์และคุณแม่

    ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่พลาดการติดตามพัฒนาการลูก

  • Join Us

© 2019 babytoddlerskids.com. All Rights Reserved.