BabyToddlersKids
BabyToddlersKids
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
  • ตั้งครรภ์
    • ดูทั้งหมด
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester)
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (Second Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Third Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 41
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 42
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 43
  • เด็กวัยแรกเกิด
    • ดูทั้งหมด
    • Parenting The Parent
    • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement)
      • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7)
        • เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 สัปดาห์ (Newborn to 1 week old baby)
        • เด็กอายุ 2 สัปดาห์ (2 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 3 สัปดาห์ (3 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 7 สัปดาห์ (7 Weeks Old Baby)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 6 เดือน (First Year - 6 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 8 เดือน (First Year - 8 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 10 เดือน (First Year - 10 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 11 เดือน (First Year - 11 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 12 เดือน (First Year - 12 Months Old)
    • การให้อาหารทารก (Feeding)
      • Alternative methods of infant feeding
        • Alternative methods of infant feeding
      • การให้นมจากขวด (Bottle Feeding)
        • นมผงสำหรับทารก (Formula Feeding)
      • การให้นมแม่ (Breast Feeding)
        • การให้นมแม่
      • อาหารบด (Solids)
        • อาหารเสริมสำหรับทารก (Solid Foods)
    • วัคซีน (Vaccinations)
      • วัคซีน (Vaccine Basic)
        • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กปลอดภัยหรือไม่? Are Immunizations safe?
        • การฉีดวัคซีนในเด็ก (The Importance of Vaccines)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็กทารก (Baby Sleep)
        • การกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับ (Getting Baby to Sleep)
        • การนอนของเด็กแรกเกิด (Baby Bedtime Routine)
        • การนอนหลับในเด็ก (Baby Sleep)
        • ฝึกเด็กวัยแรกเกิดให้นอนเองและนอนได้นาน (Baby Sleep Training Strategies)
  • เด็กวัยหัดเดิน
    • ดูทั้งหมด
    • พัฒนาการเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Development)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Toddler Development - Month by Month)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็ก (Sleep)
    • การเล่น (Playtime)
    • อุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Gears)
      • จานและชามสำหรับทานอาหารของเด็กวัยหัดเดิน (Plates and Bowls for Toddler)
      • รั้วกั้นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Safety Gates)
      • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน (Toddler safety products)
      • เก้าอี้และโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (High Chair and Table for Toddler)
      • เตียงนอนสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Bed)
  • เด็กก่อนวัยเรียน
    • ดูทั้งหมด
    • Covid-19
      • การเตรียมตัวเปิดเทอมในช่วงโควิด-19
      • หากสงสัยว่าลูกน้อยได้รับเชื้อไวรัส COVID 19
    • เด็กวัย 3 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • เด็กวัย 4 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
      • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
  • อุปกรณ์และของใช้เด็ก
    • ดูทั้งหมด
    • รถเข็น / คาร์ซีท / เป้อุ้ม และอุปกรณ์
      • คาร์ซีท (Carseat)
      • รถเข็น (Stroller)
      • อุปกรณ์อุ้มเด็ก (Baby Carrier)
    • อุปกรณ์การให้นม
      • ขวดนม (Milk Bottle)
      • จุกนม (Nipples)
      • หมอนรองให้นม (Nursing Pillow)
      • แปรงทำความสะอาดขวดนม (Bottle Brush)
    • เตียงนอนและอุปกรณ์ในห้องเลี้ยงเด็ก
      • ปลอกหุ้มเบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม (Changing pad cover)
      • เบาะนอนสำหรับเปลเด็ก (Crib Mattress)
      • เปลเด็ก (Crib and Mattress)
      • โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก (Dresser, Changing Table)
    • เสื้อผ้าและของใช้เด็กทารก
      • ชุดกลับบ้านของลูกน้อย (Going home outfit), หมวกสำหรับเด็ก (Baby cap)
      • ผ้าห่อตัวเด็ก (Swaddle), เสื้อคลุมเด็ก (Wearable blanket), เสื้อแบบใส่และถอดด้านข้าง (Side snap t-shirt)
PP 20K
  • หน้าแรก /
  • เด็กวัยแรกเกิด /
  • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement) /
  • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month) /
  • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)

Advertisement

Plug&Play

เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)

เมื่อเด็ก (Toddler) มีอายุเข้าสู่ช่วงวัย 9 เดือน สมองของเด็กจะพัฒนาเข้าสู่ช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว (Growth spurt) ส่งผลให้เด็กเริ่มที่จะพัฒนาลักษณะนิสัย ซึ่งคุณแม่คุณพ่ออาจเริ่มสังเกตเห็นได้ว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิมอย่างไร ลูกน้อยชอบทำอะไร ชอบแก้ไขปัญหาอย่างไร และมีอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่เสียมากกว่ากัน นอกจากนี้เด็กยังเริ่มรับรู้และมองเห็นถึงสิ่งของที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของห้อง ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่ไกลสำหรับเด็กเมื่อเทียบกับช่วงวัยก่อนหน้านี้ เด็กเริ่มจดจำของเล่นชิ้นโปรดได้รวมไปถึงใบหน้าของคนที่คุ้นเคย ไม่ใช่เพียงแค่ใบหน้าของคุณแม่คุณพ่อ นอกจากนี้ในด้านพัฒนาการการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical and movement development) ที่พัฒนาไปมากในช่วงเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ก็อาจทำให้คุณแม่คุณพ่อรู้สึกแปลกใจเมื่อลูกน้อยสามารถเคลื่อนที่จากจุดที่เขาอยู่ไปยังจุดมุ่งหมายได้รวดเร็วขึ้น โดยที่เด็กสามารถที่จะนั่งตัวตรงได้ คลาน (Crawling) ได้อย่างคล่องแคล่ว ยืนขึ้นได้ด้วยการจับยึดสิ่งของไว้เช่นขอบโซฟา ขอบโต๊ะ ขอบตู้ แล้วยังสามารถค่อยๆก้าวขาเดินขณะพยุงตัวเองด้วยการจับยึดสิ่งของเหล่านี้ได้อีกด้วย

พัฒนาการของเด็กในภาพรวม
Toddler’s developmental milestone

ในด้านพัฒนาการการควบคุมกล้ามเนื้อ (Motor skills) และการเคลื่อนไหว นอกจากเด็กจะสามารถนั่งตัวตรง นั่งตัวตรง และลุกขึ้นยืนได้ด้วยความช่วยเหลือของคุณแม่คุณพ่อและจากการจับสิ่งของเพื่อยันตัวเองให้ยืนขึ้นแล้วนั้น เด็กบางคนยังสามารถค่อยๆยันตัวเองขึ้นขั้นบันไดได้อีกด้วย แต่การลงบันไดนั้นจะเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายไม่ว่ากับเด็กคนไหน ดังนั้นช่วงนี้คุณแม่คุณพ่อควรจับตามองลูกน้อยให้ดี หรือหาประตูกั้นมาวางไว้ที่ตีนบันไดเพื่อป้องกันการขึ้นบันไดของลูกน้อย นอกจากนี้เด็กยังสามารถควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine motor skills) ที่มือได้ดีมากขึ้นจนสามารถจับและถือสิ่งของหรืออาหารชิ้นเล็กๆได้ หากคุณแม่คุณพ่อยังป้อนอาหารผู้ใหญ่ (Solid food) ให้ลูกน้อยอยู่ ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่ดีที่จะให้ลูกน้อยได้จับอาหารขึ้นมาเข้าปากด้วยตัวเอง

เด็กเข้าใจการคงอยู่ของวัตถุ (Object permanence)

การคงอยู่ของวัตถุคือการเข้าใจว่าสิ่งของยังมีตัวตนอยู่ แม้ไม่ในอยู่ในสายตาหรือถูกซ่อนไว้ ดังนั้นในช่วงนี้เด็กอาจมีความรู้สึกคิดถึง ไปจนถึงเกิดเป็นความกังวลและความเครียดมากขึ้นเมื่ออยู่ห่างจากคุณแม่คุณพ่อ (Separation anxiety) แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการของวัย อย่างไรก็ตามการที่เด็กเข้าใจเกี่ยวกับการคงอยู่ของวัตถุนั้นก็จะทำให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับโลกรอบตัวเขามากขึ้น โดยคุณแม่คุณพ่อสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการนี้ได้ด้วยการนำของเล่นของลูกน้อยซ่อนไว้ใต้ผ้าผืนหนึ่งต่อหน้าลูกน้อย และให้ลูกน้อยลองหาของเล่นชิ้นนั้น

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
oddler’s language and communication development

เนื่องด้วยพัฒนาการที่สมองของลูกน้อยกำลังอยู่ในช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้ลูกน้อยจึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ง่ายๆมากขึ้น โดยเด็กเข้าใจและรับรู้ถึงความหมายของคำว่า ไม่ และสื่อสารคำว่าไม่ไปสู่คุณแม่คุณพ่อเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือไม่ต้องการอะไรด้วยการปิดปากสนิทและหันหน้าหนีไปทางอื่น นอกจากนี้เด็กยังเข้าใจเกี่ยวกับการจากลา โดยเด็กส่วนใหญ่มักเริ่มโบกมือและพูดคำว่า บ๊ายบาย ในวัยนี้

ในด้านพัฒนาการการพูด (Speech development) เด็กสามารถที่จะออกเสียงคำว่าแม่ พ่อ ได้ชัดเจนมากขึ้น และลอกเลียนแบบการออกเสียงรวมไปถึงน้ำเสียงของคุณแม่คุณพ่อและสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว รวมไปถึงรู้จักการใช้เสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจของคนรอบข้าง

การเจริญเติบโตและสุขภาพของเด็ก
Toddler’s growth and health

สำหรับน้ำหนักของเด็กวัย 9 เดือนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 18 ปอนด์ หรือ 8.16 กิโลกรัม สำหรับเด็กผู้หญิง และ ประมาณ 20 ปอนด์ หรือ 9.07 กิโลกรัมสำหรับเด็กผู้ชาย และองการอนามัยโลกหรือWHOได้แนะนำส่วนสูงของเด็กผู้หญิงในวัย 9 เดือนว่าควรสูงกว่า 28 นิ้ว หรือ 71.12 เซนติเมตรเล็กน้อย และเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงที่ต่ำกว่า 28 นิ้ว หรือ 71.12 เซนติเมตรเพียงเล็กน้อยเช่นกัน หากคุณแม่คุณพ่อติดตามพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกน้อยแล้วพบว่าลูกน้อยทานอาหารน้อยลงและมีน้ำหนักลดลงหรือไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรเข้าพบกุมารแพทย์ (Pediatrician)

เด็กในวัยนี้ยังควรได้รับนมแม่ (Breast milk) หรือน้ำนมทดแทน (Formula feeding) เป็นสารอาหารหลักอยู่ อย่างไรก็ตามเด็กบางคนอาจเริ่มชอบและต้องการการดื่มนมจากขวดนม (Bottle feeding) มากกว่าการเข้าเต้า (Breast feeding) ซึ่งก็ถือเป็นสิ่งปกติเนื่องจากการไหลของน้ำนมนั้นคงที่และเด็กไม่ต้องออกแรงในการดูดน้ำนมมากนั่นเอง ขณะเดียวกันหากลูกน้อยมีความคุ้นเคยกับอาหารผู้ใหญ่แล้ว เด็กควรได้รับอาหารบดละเอียดหรือหั่นชิ้นเล็กในปริมาณน้อยสามครั้งและขนมสองครั้งในหนึ่งวัน เหมือนกันมื้ออาหารของผู้ใหญ่ แต่ต่างกันที่อาหารเหล่านี้ควรให้ในปริมาณที่น้อยและไม่ควรเติมน้ำตาลและเกลือ แพทย์ยังได้แนะนำว่าหากเป็นไปได้ควรให้ลูกน้อยได้ทานผักและผลไม้ที่หลากสี รวมไปถึงให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบห้าหมู

สำหรับด้านสุขภาพของลูกน้อย หากคุณแม่คุณพ่อให้ลูกน้อยทานอาหารผู้ใหญ่แล้ว คุณแม่คุณพ่อไม่ควรลืมว่าลูกน้อยยังไม่สามารถทานนมวัวได้ และลูกน้อยไม่ควรทานอาหารที่แข็ง เคี้ยวยากเนื่องจากอาจทำให้ติดคอได้ นอกจากนี้ยังควรเฝ้าสังเกตลูกน้อยขณะทานอาหาร หากลูกน้อยเกิดอาการแพ้ควรให้ลูกน้อยหยุดทานแล้วพาลูกน้อยพบแพทย์ทันที และสัญญาณอื่นๆที่คุณแม่คุณพ่อควรเฝ้าระวังมีดังนี้

  • ไม่แสดงพฤติกรรมตอบสนองเมื่อคุณแม่คุณพ่อเดินออกจากห้องหรือเดินห่างลูกน้อยไปไกล
  • ไม่สามารถนั่งได้แม้คุณแม่คุณพ่อจะช่วยประคอง
  • ไม่แสดงพฤติกรรมตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ
  • ไม่มองตามสิ่งของหรือทิศทางที่คุณแม่คุณพ่อชี้ไป

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ในการเลี้ยงลูกน้อย
Postpartum Tips

หากตอนนี้ลูกน้อยของคุณแม่เลือกที่จะดื่มนมจากขวดนมมากกว่าการเข้าเต้า คุณแม่ควรที่จะปั๊มนมและเก็บเข้าช่องแช่แข็งไว้สำหรับลูกน้อย โดยเด็กในวัยนี้ควรได้รับน้ำนมแม่อย่างน้อย 25 ออนซ์ หรือ739 มิลลิลิตร คุณแม่สามารถหารจำนวนครั้งการให้นมลูกน้อยในหนึ่งวันเพื่อแบ่งน้ำนมให้เป็นสัดเป็นส่วนได้ เช่น ลูกน้อยดื่มนมวันละ 5 ครั้ง เท่ากับว่าในถุงเก็บน้ำนมถุงหนึ่งควรมีน้ำนมประมาณ 5 ออนซ์นั่นเอง แต่หากตอนนี้ลูกน้อยยังชื่นชอบการเข้าเต้าอยู่นั้น สัญญาณที่จะบอกได้ว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอนั่นคือ

  • ลูกน้อยดูอิ่มและพอใจ ไม่งอแงหรืออารมณ์เสียเนื่องมาจากความหิว
  • คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บและแน่นที่เต้านม เต้านมนิ่มลงหลังให้นมลูกน้อย
  • ลูกน้อยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างคงที่และต่อเนื่อง ประมาณ 3 ออนซ์ ถึง 5 ออนซ์ หรือประมาณ 85 กรัม ถึง 141 กรัม

ลูกน้อยชื่นชอบของเล่นที่มีการตอบโต้ (Interactive toys)

ในวัยนี้ลูกน้อยอาจไม่ชื่นชอบของเล่นหรือกิจกรรมที่ต้องนั่งดูเพียงอย่างเดียว แต่ลูกน้อยจะชื่นชอบที่ได้สำรวจและสัมผัสกับของเล่นชิ้นต่างๆที่มีการตอบโต้ไม่ว่าจะเป็น หนังสือป๊อปอัพ หนังสือเพลง บล็อคของเล่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณแม่คุณพ่อไม่จำเป็นที่จะต้องไปหาซื้อของเล่นที่มีราคาแพง สิ่งของภายในบ้านก็สามารถเป็นของเล่นให้ลูกน้อยได้เหมือนกันเช่น ช้อนไม้ให้ลูกน้อยได้ถือและตีกับพื้น และที่สำคัญที่สุดคือตัวคุณแม่คุณพ่อเองก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ได้กับเกมกิจกรรมที่ต้องการการตอบโต้เช่น จ๊ะเอ๋ ตบแปะ เป็นต้น







ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

kidshealth.org, parents, development 9 months

https://kidshealth.org/en/parents/development-9mos.html

cdc.gov, act early, milestones, milestones 9 months

https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-9mo.html

pregnancybirthbaby.org.au, baby’s growth and development 9 months old

https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-9-months-old

Advertisement

{{ad1_name}}
{{ad2_name}}
{{ad3_name}}

Most Related

ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

Novakdjokovicfoundation.org, teaching children good manners

https://novakdjokovicfoundation.org/teaching-children-good-manners/

findababysitter.org, blog, 10 ways to teach your toddler manners

https://www.findababysitter.org/blog/10-ways-to-teach-your-toddler-manners/

kidspot.com.au, parenting, toddler, toddler development, your toddler at 32 months

https://www.kidspot.com.au/parenting/toddler/toddler-development/your-toddler-at-32-months/news-story/549dde84de1acfaabeace487ed4b7633

theplab.net, 32 months old

https://theplab.net/32-months-old/

zerotothree.org, resources, from baby to big kid month 32

https://www.zerotothree.org/resources/1273-from-baby-to-big-kid-month-32

photo : Stocksy_Sally Anscombe

BabyToddlersKids

BabyToddlersKids.com เป็น The trustworthy pregnancy and baby information site. ที่ให้พ่อแม่ยุคดิจิตอล ที่ต้องการหาข้อมูล องค์ความรู้ เกี่ยวกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยก่อนเข้าเรียน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก สามารถนำข้อมูลจาก BabyToddlersKids.com ไปเป็นข้อมูลประกอบในการเตรียมพร้อม และดูแลลูกในด้านต่างๆ ต่อไป





Contact Us


  • [email protected]

388/52 ชิคดิสทริค
รามคำแหง 53 ถนนรามคำแหง พลับพลา
กรุงเทพมหานคร


Connect with us

  • TRACK พัฒนาการทารกในครรภ์

    กดปุ่ม Join Us เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ พร้อมข้อมูล คำแนะนำจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกในครรภ์และคุณแม่

    ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่พลาดการติดตามพัฒนาการลูก

  • Join Us

© 2019 babytoddlerskids.com. All Rights Reserved.