BabyToddlersKids
BabyToddlersKids
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
  • ตั้งครรภ์
    • ดูทั้งหมด
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester)
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (Second Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Third Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 41
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 42
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 43
  • เด็กวัยแรกเกิด
    • ดูทั้งหมด
    • Parenting The Parent
    • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement)
      • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7)
        • เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 สัปดาห์ (Newborn to 1 week old baby)
        • เด็กอายุ 2 สัปดาห์ (2 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 3 สัปดาห์ (3 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 7 สัปดาห์ (7 Weeks Old Baby)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 6 เดือน (First Year - 6 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 8 เดือน (First Year - 8 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 10 เดือน (First Year - 10 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 11 เดือน (First Year - 11 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 12 เดือน (First Year - 12 Months Old)
    • การให้อาหารทารก (Feeding)
      • Alternative methods of infant feeding
        • Alternative methods of infant feeding
      • การให้นมจากขวด (Bottle Feeding)
        • นมผงสำหรับทารก (Formula Feeding)
      • การให้นมแม่ (Breast Feeding)
        • การให้นมแม่
      • อาหารบด (Solids)
        • อาหารเสริมสำหรับทารก (Solid Foods)
    • วัคซีน (Vaccinations)
      • วัคซีน (Vaccine Basic)
        • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กปลอดภัยหรือไม่? Are Immunizations safe?
        • การฉีดวัคซีนในเด็ก (The Importance of Vaccines)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็กทารก (Baby Sleep)
        • การกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับ (Getting Baby to Sleep)
        • การนอนของเด็กแรกเกิด (Baby Bedtime Routine)
        • การนอนหลับในเด็ก (Baby Sleep)
        • ฝึกเด็กวัยแรกเกิดให้นอนเองและนอนได้นาน (Baby Sleep Training Strategies)
  • เด็กวัยหัดเดิน
    • ดูทั้งหมด
    • พัฒนาการเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Development)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Toddler Development - Month by Month)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็ก (Sleep)
    • การเล่น (Playtime)
    • อุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Gears)
      • จานและชามสำหรับทานอาหารของเด็กวัยหัดเดิน (Plates and Bowls for Toddler)
      • รั้วกั้นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Safety Gates)
      • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน (Toddler safety products)
      • เก้าอี้และโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (High Chair and Table for Toddler)
      • เตียงนอนสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Bed)
  • เด็กก่อนวัยเรียน
    • ดูทั้งหมด
    • Covid-19
      • การเตรียมตัวเปิดเทอมในช่วงโควิด-19
      • หากสงสัยว่าลูกน้อยได้รับเชื้อไวรัส COVID 19
    • เด็กวัย 3 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • เด็กวัย 4 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
      • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
  • อุปกรณ์และของใช้เด็ก
    • ดูทั้งหมด
    • รถเข็น / คาร์ซีท / เป้อุ้ม และอุปกรณ์
      • คาร์ซีท (Carseat)
      • รถเข็น (Stroller)
      • อุปกรณ์อุ้มเด็ก (Baby Carrier)
    • อุปกรณ์การให้นม
      • ขวดนม (Milk Bottle)
      • จุกนม (Nipples)
      • หมอนรองให้นม (Nursing Pillow)
      • แปรงทำความสะอาดขวดนม (Bottle Brush)
    • เตียงนอนและอุปกรณ์ในห้องเลี้ยงเด็ก
      • ปลอกหุ้มเบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม (Changing pad cover)
      • เบาะนอนสำหรับเปลเด็ก (Crib Mattress)
      • เปลเด็ก (Crib and Mattress)
      • โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก (Dresser, Changing Table)
    • เสื้อผ้าและของใช้เด็กทารก
      • ชุดกลับบ้านของลูกน้อย (Going home outfit), หมวกสำหรับเด็ก (Baby cap)
      • ผ้าห่อตัวเด็ก (Swaddle), เสื้อคลุมเด็ก (Wearable blanket), เสื้อแบบใส่และถอดด้านข้าง (Side snap t-shirt)
PP 20K
  • หน้าแรก /
  • เด็กวัยแรกเกิด /
  • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement) /
  • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month) /
  • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)

Advertisement

Plug&Play

เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)

ในช่วงวัย 7 เดือน พัฒนาการที่สำคัญที่สุดนั้นเกิดขึ้นภายในตัวของลูกน้อย นั่นคือการเรียนรู้ที่จะประสานงานระหว่างการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัส ส่งผลให้การเคลื่อนไหวและเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของเด็กนั้นดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เด็ก (Toddler) ยังมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร (Communication development) ในด้านอวัจนภาษาหรือการสื่อสารผ่านภาษากายและการแสดงออกทางสีหน้านั่นเอง และยังสามารถรับรู้ได้ด้วยว่าคุณแม่คุณพ่อนั้นรู้สึกอย่างไรผ่านภาษากายและน้ำเสียง มากไปกว่านั้นเนื่องด้วยการมองเห็นที่ดีขึ้น (Vision development) ทำให้เด็กสามารถที่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลจากตัวเขาในระยะที่ไกลขึ้น และสามารถมองตามการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากลูกน้อยพยายามเอื้อมมือไปหาของที่อยู่ไกลกว่าตัวเขามากกว่าเคย

พัฒนาการของเด็กในภาพรวม (Toddler’s developmental milestone)

นอกจากที่เด็กในวัย 7 เดือนจะมีพัฒนาการด้านการประสานงานของร่างกายที่ดีแล้ว เด็กยังมีพัฒนาการการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine motor skill) ที่ดี โดยเด็กสามารถที่จะหยิบสิ่งของได้ด้วยมือข้างเดียว จากก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้สองมือประคอง และยังอาจสามารถปรบมือได้อีกด้วย นอกจากนี้เด็กยังเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของรอบตัวผ่านการเอื้อมมือไปยิบสิ่งของที่ไกลตัว ลากของชิ้นนั้นเข้ามาหาตัวเอง ตรวจสอบของชิ้นนั้นด้วยสายตา แล้วนำของชิ้นนั้นเข้าปาก ดังนั้นคุณแม่คุณพ่อควรเก็บสิ่งของอันตรายให้มิดชิดในตู้หรือลิ้นชัก เด็กยังสามารถที่จะถืออุปกรณ์ทานอาหารได้แล้วอีกด้วย แม้เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจว่าช้อนและส้อมเอาไว้ทำอะไร แต่การให้ลูกน้อยได้นั่งดูคุณแม่คุณพ่อทานอาหารด้วยช้อนส้อมเป็นประจำจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ในไม่ช้าถึงหน้าที่ของอุปกรณ์เหล่านี้

ลูกน้อยสามารถนั่งได้แล้วในช่วงวัย 7 เดือนนี้เด็กหลายคนสามารถที่จะนั่งตัวตรงได้ด้วยตัวเองโดยไม่เซล้มแล้ว อย่างไรก็ตามหากลูกน้อยยังต้องการให้คุณแม่คุณพ่อช่วยประคองอยู่บ้างก็ไม่ใช่สิ่งผิดปกติ ไม่นานลูกน้อยก็จะสามารถหาสมดุลและสามารถที่จะนั่งตัวตรงได้แม้คุณแม่คุณพ่อจะปล่อยมือ อย่างไรก็ตาม บริเวณที่ให้ลูกน้อยได้ฝึกนั่งหรือบริเวณนั่งเล่นของเล่นนั้นควรปูด้วยพรมหนานุ่มและมีเบาะนุ่มๆไว้รองรับหากลูกน้อยเซล้มหรือต้องการเปลี่ยนท่าทาง

เด็กอาจปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่ง
ในวัยนี้เด็กอาจเริ่มทดสอบขอบเขตอำนาจและความเป็นผู้นำของคุณแม่คุณพ่อด้วยการปฏิเสธที่จะทำตามคำขอหรือคำสั่งในบางครั้ง ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยกำลังดื้อหรือกำลังแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่ดี ลูกน้อยแค่กำลังทดสอบขอบเขตของอำนาจของสมาชิกในครอบครัวรวมถึงของตัวเขาเองด้วย ดังนั้นขอให้คุณแม่คุณพ่อจำไว้ว่าพฤติกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ ขอให้คุณแม่คุณพ่อใจเย็นและพูดคุยกับลูกน้อยว่าทำไมถึงต้องทำ ทำแล้วดีอย่างไร ทำแล้วจะได้รางวัลอะไร เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยอยากทำแทนที่จะปฏิเสธ

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
Toddler’s language and communication development

สำหรับพัฒนาการด้านภาษา ลูกน้อยจะมีการออกเสียงคำหนึ่งพยางค์ที่ไม่มีความหมายและถึงแม้จะมีความหมายเช่น พ่อ แม่ บ๊ายบาย ตัวเด็กเองก็ยังไม่เข้าใจว่าคำเหล่านี้หมายความถึงอะไร อย่างไรก็ตามเด็กในวัยนี้มักเข้าใจคำว่า ไม่ และมักตอบสนองต่อคำๆนี้ แต่ลูกน้อยจะยอมทำตามเมื่อคุณแม่คุณพ่อพูดคำว่าไม่หรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในด้านพัฒนาการการสื่อสาร เด็กสามารถที่จะจำแนกอารมณ์ของคุณแม่คุณพ่อได้ผ่านการใช้น้ำเสียงของคุณแม่คุณพ่อ และเด็กยังสามารถที่จะโต้ตอบกับคุณแม่คุณพ่อได้ด้วยการแสดงออกทางภาษากายและการแสดงออกทางสีหน้า โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกมีความสุขและเมื่อรู้สึกไม่พอใจ

การเจริญเติบโตและสุขภาพของเด็ก
Toddler’s growth and health

สำหรับน้ำหนักโดยเฉลี่ยของเด็กในวัย 7 เดือนนั้น เด็กผู้หญิงจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 16.8 ปอนด์ หรือ 7.6 กิโลกรัม และ เด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 18.3 ปอนด์ หรือ 8.3 กิโลกรัม และมีส่วนสูงสำหรับเด็กผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 26.5 นิ้ว หรือ 67.31 เซนติเมตร และ ส่วนสูงสำหรับเด็กผู้ชายอยู่ที่ประมาณ 27.2 นิ้ว หรือ 69.08 เซนติเมตร

หากคุณแม่คุณพ่อเริ่มให้ลูกน้อยได้ทำความรู้จักกับอาหารผู้ใหญ่ (Solid food) เมื่อเดือนก่อนแล้ว เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 7 เด็กจะมีความคุ้นเคยกับอาหารเหล่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเด็กสามารถจับช้อนส้อมและมีการประสานงานระหว่างดวงตาและมือ (Eyes and hands coordination) ที่ดีขึ้น คุณแม่คุณพ่ออาจเริ่มให้ลูกน้อยลองทานอาหารด้วยตัวเองดู โดยเริ่มจากการใช้มือทานอาหาร ซึ่งถึงแม้จะเป็นวิธีที่ทำให้เกิดความเลอะเทอะ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ลูกน้อยได้เรียนรู้การมีอิสระและทำอะไรด้วยตัวเอง สิ่งสำคัญที่คุณแม่คุณพ่อควรทำก็คือบดอาหารให้ละเอียดเป็นเนื้อเนียน โดยควรเน้นเป็นอาหารจำพวกผักต้มบดและผลไม้สดบด ถึงแม้จะดูให้พลังงานไม่มากแต่ลูกน้อยยังควรได้รับสารอาหารและพลังงานหลักจากน้ำนมคุณแม่ (Breast milk) หรือ น้ำนมทดแทน (Formula feeding) เป็นสำคัญ ดังนั้นผักต้มบดและผลไม้บดเหล่านี้ควรถูกมองว่าเป็นอาหารเสริม มากกว่าเป็นอาหารมื้อหลัก

สำหรับสัญญาณเตือนภาวะผิดปกติในเด็กและภาวะเรียนรู้ช้ามีดังนี้

  • ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อคอได้ มีอาการกล้ามเนื้อคออ่อนแรง เมื่อถูกจับให้นั่งตัวตรง
  • ไม่มีความพยายามที่จะเรียกร้องความสนใจจากคุณแม่คุณพ่อด้วยการกระทำต่างๆหรือการส่งเสียง
  • จำคุณแม่คุณพ่อไม่ได้
  • ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ
  • ปฏิเสธที่จะถูกกอด
  • ไม่ทิ้งน้ำหนักลงไปที่ขาทั้งสองข้างเมื่อถูกประคองให้ยืน

หากคุณแม่คุณพ่อพบว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิม ควรเข้าพบกุมารแพทย์ (Pediatrician) เพื่อขอคำปรึกษา

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ในการเลี้ยงลูกน้อย (Postpartum Tips)

การเล่นถือเป็นสิ่งที่เด็กวัย 7 เดือนชื่นชอบที่จะทำ โดยเฉพาะเมื่อได้เล่นกับคุณแม่คุณพ่อ สำหรับเด็กวัยนี้ ไม่ว่าการเล่นรูปแบบไหนก็ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ทั้งสิ้น แต่กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญก็คือการอ่านหนังสือกับลูกน้อยและพูดคุยเกี่ยวกับภาพต่างๆภายในหนังสือนิทานโดยสิ่งที่พูดนั้นไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับนิทานเลยก็ได้ เพียงแต่การชวนลูกน้อยพูดคุยเกี่ยวกับภาพที่มีขนาดใหญ่และสีสันสดใส จะช่วยให้ลูกน้อยได้รู้จักใช้จินตนาการตั้งแต่วัยเยาว์

ลูกน้อยชอบเล่นเกมที่เดาทางได้

เด็กในวัยนี้ยังไม่พร้อมสำหรับกิจกรรมหรือเกมที่ซับซ้อนและคาดเดาได้ยาก ในทางกลับกันเด็กชื่นชอบกิจกรรมที่คาดเดาผลได้และมีความซ้ำอย่าง การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นไปพร้อมๆกับร้องเพลงเช่น หัว ไหล่ เข่า (Head shoulders knees and toes) และเกมตบแปะ

ให้ลูกน้อยนั่งร่วมโต๊ะอาหาร

เมื่อลูกน้อยของคุณแม่คุณพ่อมีความคุ้นเคยกับอาหารผู้ใหญ่และสามารถใช้มือทานอาหารได้ด้วยตัวเองแล้ว คุณแม่คุณพ่อควรใช้โอกาสนี้ในการให้ลูกน้อยได้มานั่งทานอาหารบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กในมื้ออาหารที่สมาชิกในครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อให้ลูกน้อยได้สังเกตและเรียนรู้วิธีการทานอาหารแบบผู้ใหญ่ รวมไปถึงวิธีการเข้าสังคม

ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

Pregnancybirthbaby.org.au, baby’s growth and development 7 months old

https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-7-months-old

flo.health, being a mom, your baby, 7 months milestones

https://flo.health/being-a-mom/your-baby/7-month-milestones

healthychildren.org, ages and stages, baby, developmental milestones 7 months

https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/Pages/Developmental-Milestones-7-Months.aspx

Advertisement

{{ad1_name}}
{{ad2_name}}
{{ad3_name}}

Most Related

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11

ในสัปดาห์นี้ ผิวหนังของตัวอ่อนยังคงโปร่งใส ขณะที่กระดูกเริ่มแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มเตะขาและเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ เพียงแต่คุณแม่ยังคงไม่รับรู้ถึงกา...


การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

จากที่เคยรับสารภูมิต้านทานจากคุณแม่ผ่านทางรก (Placenta) ทารกได้เริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายด้วยตัวเอง เพื่อเตรียมการสำหรับการใช้ชีวิตหลังค...


การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12

ลูกสามารถขยับแขนขา เคลื่อนไหวร่างกายได้ แต่คุณแม่ไม่รู้สึกเพราะลูกตัวเล็กเกินไป


เด็กวัยหัดเดิน - อายุ 13 เดือน (Toddler - Age 13 months)

เด็กวัยหัดเดิน - อายุ 13 เดือน (Toddler - Age 13 months)

เด็กจะเป็นนักเลียนแบบและนักสังเกตการณ์ประจำบ้านของคุณแม่คุณพ่อ และเริ่มที่จะมีความคิดเป็นของตัวเอง


การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13

ในสัปดาห์นี้ ขนบางๆ จะเริ่มปกคลุมผิวหนังของทารกแล้ว ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ อัณฑะและรังไข่ก็พัฒนาสมบูรณ์แล้ว และอวัยวะเพศภายนอกก็กำลังพัฒ...


ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

nct.org.uk, baby toddler, your child’s development, your baby’s development 18-21 months

https://www.nct.org.uk/baby-toddler/your-childs-development/your-babys-development-18-21-months

theparentline.org, infant toddler development, 19-21 months

http://www.theparentline.org/infant-toddler-development/19-21-months/

theplab.net, 21 months old

https://theplab.net/21-months-old/

ecda.gov.sg, growatbeanstalk, documents, early years development framework 

https://www.ecda.gov.sg/growatbeanstalk/Documents/MCYS%20EARLY%20YEARS%20DEVELOPMENT%20FRAMEWORK.pdf

Kidspot.com.au, parenting, toddler, toddler development, your toddler at 21 months

https://www.kidspot.com.au/parenting/toddler/toddler-development/your-toddler-at-21-months/news-story/527ee914f42854251bbf4b1296b78c69

BabyToddlersKids

BabyToddlersKids.com เป็น The trustworthy pregnancy and baby information site. ที่ให้พ่อแม่ยุคดิจิตอล ที่ต้องการหาข้อมูล องค์ความรู้ เกี่ยวกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยก่อนเข้าเรียน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก สามารถนำข้อมูลจาก BabyToddlersKids.com ไปเป็นข้อมูลประกอบในการเตรียมพร้อม และดูแลลูกในด้านต่างๆ ต่อไป





Contact Us


  • [email protected]

388/52 ชิคดิสทริค
รามคำแหง 53 ถนนรามคำแหง พลับพลา
กรุงเทพมหานคร


Connect with us

  • TRACK พัฒนาการทารกในครรภ์

    กดปุ่ม Join Us เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ พร้อมข้อมูล คำแนะนำจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกในครรภ์และคุณแม่

    ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่พลาดการติดตามพัฒนาการลูก

  • Join Us

© 2019 babytoddlerskids.com. All Rights Reserved.