BabyToddlersKids
BabyToddlersKids
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
  • ตั้งครรภ์
    • ดูทั้งหมด
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester)
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (Second Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Third Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 41
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 42
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 43
  • เด็กวัยแรกเกิด
    • ดูทั้งหมด
    • Parenting The Parent
    • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement)
      • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7)
        • เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 สัปดาห์ (Newborn to 1 week old baby)
        • เด็กอายุ 2 สัปดาห์ (2 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 3 สัปดาห์ (3 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 7 สัปดาห์ (7 Weeks Old Baby)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 6 เดือน (First Year - 6 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 8 เดือน (First Year - 8 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 10 เดือน (First Year - 10 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 11 เดือน (First Year - 11 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 12 เดือน (First Year - 12 Months Old)
    • การให้อาหารทารก (Feeding)
      • Alternative methods of infant feeding
        • Alternative methods of infant feeding
      • การให้นมจากขวด (Bottle Feeding)
        • นมผงสำหรับทารก (Formula Feeding)
      • การให้นมแม่ (Breast Feeding)
        • การให้นมแม่
      • อาหารบด (Solids)
        • อาหารเสริมสำหรับทารก (Solid Foods)
    • วัคซีน (Vaccinations)
      • วัคซีน (Vaccine Basic)
        • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กปลอดภัยหรือไม่? Are Immunizations safe?
        • การฉีดวัคซีนในเด็ก (The Importance of Vaccines)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็กทารก (Baby Sleep)
        • การกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับ (Getting Baby to Sleep)
        • การนอนของเด็กแรกเกิด (Baby Bedtime Routine)
        • การนอนหลับในเด็ก (Baby Sleep)
        • ฝึกเด็กวัยแรกเกิดให้นอนเองและนอนได้นาน (Baby Sleep Training Strategies)
  • เด็กวัยหัดเดิน
    • ดูทั้งหมด
    • พัฒนาการเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Development)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Toddler Development - Month by Month)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็ก (Sleep)
    • การเล่น (Playtime)
    • อุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Gears)
      • จานและชามสำหรับทานอาหารของเด็กวัยหัดเดิน (Plates and Bowls for Toddler)
      • รั้วกั้นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Safety Gates)
      • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน (Toddler safety products)
      • เก้าอี้และโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (High Chair and Table for Toddler)
      • เตียงนอนสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Bed)
  • เด็กก่อนวัยเรียน
    • ดูทั้งหมด
    • Covid-19
      • การเตรียมตัวเปิดเทอมในช่วงโควิด-19
      • หากสงสัยว่าลูกน้อยได้รับเชื้อไวรัส COVID 19
    • เด็กวัย 3 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • เด็กวัย 4 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
      • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
  • อุปกรณ์และของใช้เด็ก
    • ดูทั้งหมด
    • รถเข็น / คาร์ซีท / เป้อุ้ม และอุปกรณ์
      • คาร์ซีท (Carseat)
      • รถเข็น (Stroller)
      • อุปกรณ์อุ้มเด็ก (Baby Carrier)
    • อุปกรณ์การให้นม
      • ขวดนม (Milk Bottle)
      • จุกนม (Nipples)
      • หมอนรองให้นม (Nursing Pillow)
      • แปรงทำความสะอาดขวดนม (Bottle Brush)
    • เตียงนอนและอุปกรณ์ในห้องเลี้ยงเด็ก
      • ปลอกหุ้มเบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม (Changing pad cover)
      • เบาะนอนสำหรับเปลเด็ก (Crib Mattress)
      • เปลเด็ก (Crib and Mattress)
      • โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก (Dresser, Changing Table)
    • เสื้อผ้าและของใช้เด็กทารก
      • ชุดกลับบ้านของลูกน้อย (Going home outfit), หมวกสำหรับเด็ก (Baby cap)
      • ผ้าห่อตัวเด็ก (Swaddle), เสื้อคลุมเด็ก (Wearable blanket), เสื้อแบบใส่และถอดด้านข้าง (Side snap t-shirt)
PP 20K
  • หน้าแรก /
  • เด็กวัยแรกเกิด /
  • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement) /
  • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month) /
  • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)

Advertisement

Plug&Play

เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)

ลูกน้อยได้ผ่านช่วงวัย 2 เดือน และกำลังย่างเข้า 3 เดือนแล้ว เด็ก (Infant) จะตื่นตัวมากขึ้นและตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น มีพัฒนาการทางด้านภาษา ด้านการมองเห็น และการควบคุมกล้ามเนื้อ ในด้านสุขภาพยังต้องระวังภาวะศีรษะแบน อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาการเล่นที่มีมากขึ้นก็จะช่วยป้องกันภาวะศีรษะแบนได้ นอกจากนี้คุณแม่และคุณพ่อจะเริ่มรู้สึกเข้าใจถึงพฤติกรรมและช่วงเวลา จังหวะการใช้ชีวิตของลูกน้อยมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าคุณแม่และคุณพ่อจะสามารถจัดสรรเวลาในการพักผ่อน การดูแลลูกน้อย และการทำงานได้แล้ว

พัฒนาการของเด็ก
Baby’s Development

เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 10 สัปดาห์ เด็กจะมีพัฒนาการในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านภาษา โดยเด็กจะมีการออกเสียงเป็นคำที่ไม่มีความหมายให้คุณแม่และคุณพ่อได้ยินบ่อยครั้ง พัฒนาการทางด้านสายตาก็ดีขึ้น จากที่มองเห็นได้อย่างเลือนรางเมื่อตอนแรกเกิด ตอนนี้เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดขึ้นแล้ว รวมไปถึงพัฒนาการด้านการควบคุมกล้ามเนื้อและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า พัฒนาการเหล่านี้จะทำให้คุณแม่คุณพ่อรู้สึกได้ว่าลูกน้อยโตขึ้นอย่างมากทีเดียว

เมื่อพูดถึงพัฒนาการที่สำคัญในการสื่อสารอย่างพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก ถึงแม้ว่าเด็กแต่ละคนจะเริ่มออกเสียงและพูดในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 10 คุณแม่และคุณพ่อจะเริ่มได้ยินการออกโทนของเสียงที่แตกต่างกันจากตัวลูกน้อย มีการออกเสียงคำที่ไม่มีความหมาย รวมไปถึงการเริ่มเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากคุณแม่และคุณพ่อ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณแม่และคุณพ่อจะพูดคุยกับลูกน้อยมากขึ้น และหากต้องการให้ลูกน้อยเรียนรู้ภาษาที่สอง ก็ไม่ต้องรอให้เด็กโตไปกว่านี้ คุณแม่และคุณพ่อสามารถเริ่มพูดภาษาที่สองกับลูกน้อยได้เลย เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับเสียงและคำที่แตกต่างกัน

ในด้านของพัฒนาการทางด้านสายตา เด็กจะมีการประสานงานระหว่างสายตาและมือ โดยคุณแม่คุณพ่อจะสามารถสังเกตได้ว่าเด็กจะมีการเอื้อมมือไปหยิบสิ่งของที่เขาจ้องมองอยู่บ่อยมากขึ้น จนกระทั่งสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งของตรงหน้าคืออะไรและจะพยายามหยิบจับสิ่งนั้นๆ แม้เด็กจะยังไม่สามารถใช้มือคว้า หยิบจับสิ่งของได้อย่างเต็มที่ แต่คุณแม่คุณพ่อก็สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการนี้ได้ด้วยการหาของเล่นที่มีสีสันสดใส สะดุดตา มาให้ลูกน้อยฝึกการจ้องมอง เอื้อมมือหยิบจับและเล่นด้วยมือ ถือเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างลูกและคุณแม่คุณพ่อไปด้วยในเวลาเดียวกัน

พัฒนาการที่สำคัญอีกหนึ่งด้านคือการควบคุมกล้ามเนื้อของเด็ก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ ที่มีความแข็งแรงมากขึ้น คุณแม่และคุณพ่อสามารถสังเกตพัฒนาการนี้ได้เมื่อเด็กนอนคว่ำ จะมีการยกศีรษะขึ้นและค้างไว้อย่างนั้นในเวลาไม่กี่วินาที หากเด็กไม่มีพฤติกรรมการยกศีรษะ คุณแม่คุณพ่อควรปรึกษากุมารแพทย์ (Pediatrician) เพื่อหาทางพัฒนากล้ามเนื้อของลูกน้อย เนื่องจากพัฒนาการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการอื่นๆในอนาคตเช่น การคลาน การเงยศีรษะ เป็นต้น นอกจากนี้หากคุณแม่คุณพ่ออุ้มลูกน้อยให้อยู่ในท่านั่ง เด็กจะเริ่มพยายามลงน้ำหนักไปที่ขาเพื่อหาสมดุลในการนั่งตัวตรง คุณแม่และคุณพ่อไม่ควรปล่อยมือจากลูกน้อย แต่ควรช่วยเสริมพัฒนาการด้วยการช่วยพยุง

ในส่วนของพัฒนาการด้านการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ถือได้ว่าเป็นพัฒนาการที่มีความน่าสนใจสำหรับคุณแม่และคุณพ่อ เนื่องจากเด็กจะเริ่มตอบสนองต่อสิ่งต่างๆด้วยสีหน้าและอารมณ์ที่แตกต่างกันมากขึ้น คุณแม่และคุณพ่อสามารถทดลองเปิดเพลงที่มีทำนองที่แตกต่างกันไป เพื่อสังเกตการตอบสนองของลูกน้อย นอกจากนี้เด็กยังเริ่มยิ้มเป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกมีความสุขอีกด้วย

การเจริญเติบโตของเด็ก
Baby’s Growth

หากพูดถึงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 10 สัปดาห์ ต้องบอกเลยว่าช่วงนี้คุณแม่และคุณพ่อจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าลูกน้อยนั้นโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านน้ำหนักและความยาวของร่างกายที่เพิ่มขึ้น ทำให้แขนและขาของเด็กมีลักษณะอวบมากขึ้น รวมไปถึงรูปลักษณ์ของใบหน้าที่ชัดเจนมากขึ้น และความต้องการอาหารที่อาจเพิ่มมากขึ้น

เมื่อเด็กเข้าสู่สัปดาห์ที่ 10 เด็กสามารถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ถึง 3 ปอนด์ หรือประมาณ 1,361 กรัม และสามารถมีขนาดความยาวร่างกายที่เพิ่มขึ้นมาประมาณ 2 นิ้ว ถึง 3 นิ้ว หรือประมาณ 5.08 เซนติเมตร ถึง 7.62 เซนติเมตร โดยทั่วไปแล้วเด็กอายุ 10 สัปดาห์จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 10 ปอนด์ ถึง 12 ปอนด์ หรือประมาณ 4.5 กิโลกรัม ถึง 5.4 กิโลกรัม

สำหรับการให้นม (Feeding) นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวเด็กแต่ละคน โดยทั่วไปเด็กอายุ 10 สัปดาห์อาจมีความต้องการการให้นมมากขึ้น รวมไปถึงใช้เวลาในการดื่มนมนานขึ้น แต่หากลูกน้อยของคุณใช้เวลาในการดื่มนมที่สั้น แต่หลายครั้งในหนึ่งวัน ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติ ในช่วงนี้เด็กหลายคนเมื่อรู้สึกหิวก็จะขยับปากในลักษณะการดูด หรือร้องไห้ เป็นสัญญาณให้คุณแม่คุณพ่อทราบว่าลูกน้อยหิวแล้ว

สุขภาพของเด็ก
Baby’s Health

เมื่อผ่านช่วงการตรวจสุขภาพกับกุมารแพทย์หลังเด็กมีอายุ 2 เดือนบริบูรณ์ ลูกน้อยควรได้รับวัคซีนที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามคุณแม่และคุณพ่อควรระวังภาวะศีรษะแบนในเด็กอ่อน

เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี เข็มที่ 2 แล้ว และวัคซีนอื่นๆร่วมด้วย อาทิ วัคซีนฮิบ วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด เป็นต้น โดยคุณแม่และคุณพ่อควรตรวจสอบและเก็บสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของลูกน้อยไว้อย่างดี

สำหรับภาวะที่สามารถพบได้ในเด็กอายุ 10 สัปดาห์ ก็คือภาวะศีรษะแบน ซึ่งนักวิจัยพบว่าเด็กวัย 2 เดือน ถึง 47 เปอร์เซนต์ มีจุดแบนบนศีรษะ ซึ่งสามารถทำให้เด็กมีลักษณะศีรษะแบน เบี้ยวได้หากไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไข โดยช่วงที่เด็กตื่นตัว คุณแม่คุณพ่อควรให้ลูกน้อยนอนคว่ำ นอกจากจะได้ฝึกบริหารกล้ามช่วงบนของร่างกาย ยังเป็นการลดระยะเวลาการนอนหงาย ที่ศีรษะทารกต้องกดบนพื้นผิวต่างๆเป็นเวลานาน หากลูกน้อยของคุณมีลักษณะศีรษะที่ผิดรูปอย่างเห็นได้ชัดควรเข้าพบกุมารแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

เคล็ดลับและเกร็ดความรู้สำหรับคุณแม่หลังคลอด
Postpartum Tips and Information

ช่วงนี้สมองของเด็กจะซึมซับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวมากขึ้น ดังนั้นคุณแม่และคุณพ่อจึงควรหาเวลาเล่นกับลูกน้อยให้มากขึ้น หาเวลาในการให้ลูกได้นอนคว่ำและฝึกบริหารกล้ามเนื้อ (Tummy time) และใช้เป้อุ้มเด็ก (Baby wearing) กับลูกน้อยเมื่อทำงานบ้านตอนกลางวัน

พูดกับลูกน้อยให้มากขึ้น
แม้อาจจะฟังดูไม่มีเหตุผล แต่คุณแม่และคุณพ่อควรพูดกับลูกน้อยให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบอกสิ่งที่กำลังทำเช่น คุณแม่กำลังทำงานบ้านอะไรอยู่ สิ่งที่กำลังถืออยู่คืออะไร มีสีอะไร คุณพ่อกำลังดูรายการทีวีอะไรอยู่ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีการตอบสนองควบคู่ไปกับการเรียนรู้คำและภาษาที่หลากหลาย นอกจากการพูดคุยแล้ว การร้องเพลงกล่อมก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีในการกระตุ้นสมอง ลองสังเกตการตอบสนองของลูกน้อยต่อจังหวะเพลงต่างๆ แล้วคุณแม่คุณพ่อจะทราบว่าลูกน้อยชอบเพลงไหน เพลงไหนทำให้ลูกน้อยผ่อนคลาย

หาช่วงเวลาฝึกกล้ามเนื้อด้วยการนอนคว่ำ
การให้เด็กอ่อนอยู่ในท่านอนคว่ำนั้นควรมีคุณแม่คุณพ่ออยู่ดูตลอดเวลา เนื่องจากหากเด็กอยู่ในท่านี้นานไปอาจทำให้ลูกน้อยหายใจไม่สะดวกได้ โดยการนอนคว่ำนั้นจะช่วยให้เด็กได้ฝึกการยกตัว เงยศีรษะ ยกคอ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเคลื่อนไหวร่างกายในอนาคตเช่น การคลาน เป็นต้น โดยเด็กที่มีอายุ 10 สัปดาห์ ควรมีช่วงเวลาฝึกกล้ามเนื้อด้วยการนอนคว่ำอย่างน้อย 2 ถึง 3 ครั้งในหนึ่งวัน ใช้เวลา 10 ถึง 15 นาที ต่อหนึ่งครั้ง ในช่วงแรกเด็กอาจร้องไห้และไม่พอใจที่ต้องอยู่ในท่านี้ ดังนั้นคุณแม่และคุณพ่อจึงควรมีความอดทน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป

ใช้เป้อุ้มเด็กให้มากขึ้น
แม้เป้อุ้มเด็กจะเป็นอุปกรณ์ที่ใครหลายๆคนหยิบใช้ในยามจำเป็นหรือเวลาที่จะพาลูกน้อยออกจากบ้าน แต่จริงๆแล้วเป้อุ้มเด็กสามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการระบบการทรงตัวและการขยับร่างกาย เนื่องจากเป้อุ้มเด็กจะทำให้ลูกน้อยอยู่ในท่านั่งตัวตรง ดังนั้นเมื่อคุณแม่หรือคุณพ่อมีกิจกรรมที่ทำในบ้านเช่น การพับผ้า การเตรียมอาหาร เป็นต้น ก็ควรใช้เป้อุ้มเด็กเพื่อพาลูกน้อยไปทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน และอย่าลืมพูดคุยกับลูกน้อยไปด้วย

ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

Choc.org, primary care, ages stages

https://www.choc.org/primary-care/ages-stages/

sleepbaby.org, 10 week old babies

https://sleepbaby.org/10-week-old-babies/

meded.psu.ac.th, Normal Development, พัฒนาการของทารกแรกเกิดจนถึง 1 เดือน

https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_551/NormalDevelopment/index3.html

kidshealth.org, for parents, Medical Care and Your 1- to 3-Month-Old

https://kidshealth.org/en/parents/med13m.html

bellybelly.com.au, baby week by week, 10 week old baby

https://www.bellybelly.com.au/baby-week-by-week/10-week-old-baby/


Advertisement

{{ad1_name}}
{{ad2_name}}
{{ad3_name}}

Most Related

เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)

เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)

สำหรับภาวะที่สามารถพบได้ในเด็กอายุ 2 เดือน ก็คือภาวะศีรษะแบน ซึ่งนักวิจัยพบว่าเด็กวัย 2 เดือน ถึง 47 เปอร์เซนต์ มีจุดแบนบนศีรษะ ซึ่งสามารถทำให้เด็ก...


เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)

เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)

 เด็กหลายคนจะมีอาการติดเต้า (Cluster feeding) ซึ่งเป็นอาการที่เด็กมีความอยากนมมากกว่าปกติ ต้องการการให้นมถี่ขึ้น


เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)

เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)

แม้ในช่วงนี้เด็กอาจไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคประจำตัว แต่คุณแม่คุณพ่อก็ควรเฝ้าระวังสัญญาณต่างๆหรือพฤติกรรมของลูกน้อยที่ต่างไปจากเดิม และไม่ควรละเล...


ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

nct.org.uk, baby toddler, your child’s development, your baby’s development 18-21 months

https://www.nct.org.uk/baby-toddler/your-childs-development/your-babys-development-18-21-months

theparentline.org, infant toddler development, 19-21 months

http://www.theparentline.org/infant-toddler-development/19-21-months/

theplab.net, 21 months old

https://theplab.net/21-months-old/

ecda.gov.sg, growatbeanstalk, documents, early years development framework 

https://www.ecda.gov.sg/growatbeanstalk/Documents/MCYS%20EARLY%20YEARS%20DEVELOPMENT%20FRAMEWORK.pdf

Kidspot.com.au, parenting, toddler, toddler development, your toddler at 21 months

https://www.kidspot.com.au/parenting/toddler/toddler-development/your-toddler-at-21-months/news-story/527ee914f42854251bbf4b1296b78c69

BabyToddlersKids

BabyToddlersKids.com เป็น The trustworthy pregnancy and baby information site. ที่ให้พ่อแม่ยุคดิจิตอล ที่ต้องการหาข้อมูล องค์ความรู้ เกี่ยวกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยก่อนเข้าเรียน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก สามารถนำข้อมูลจาก BabyToddlersKids.com ไปเป็นข้อมูลประกอบในการเตรียมพร้อม และดูแลลูกในด้านต่างๆ ต่อไป





Contact Us


  • [email protected]

388/52 ชิคดิสทริค
รามคำแหง 53 ถนนรามคำแหง พลับพลา
กรุงเทพมหานคร


Connect with us

  • TRACK พัฒนาการทารกในครรภ์

    กดปุ่ม Join Us เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ พร้อมข้อมูล คำแนะนำจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกในครรภ์และคุณแม่

    ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่พลาดการติดตามพัฒนาการลูก

  • Join Us

© 2019 babytoddlerskids.com. All Rights Reserved.