BabyToddlersKids
BabyToddlersKids
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
    • {{option.blog_title}}
  • Login
  • or
  • Signup
  • ตั้งครรภ์
    • ดูทั้งหมด
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester)
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9
      • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (Second Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
    • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Third Trimester)
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 41
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 42
      • การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 43
  • เด็กวัยแรกเกิด
    • ดูทั้งหมด
    • Parenting The Parent
    • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement)
      • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7)
        • เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 1 สัปดาห์ (Newborn to 1 week old baby)
        • เด็กอายุ 2 สัปดาห์ (2 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 3 สัปดาห์ (3 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)
        • เด็กอายุ 7 สัปดาห์ (7 Weeks Old Baby)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Baby's Development - Month by Month)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 2 เดือน (First Year - 2 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 3 เดือน (First Year - 3 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 4 เดือน (First Year - 4 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 5 เดือน (First Year - 5 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 6 เดือน (First Year - 6 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 7 เดือน (First Year - 7 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 8 เดือน (First Year - 8 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 9 เดือน (First Year - 9 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 10 เดือน (First Year - 10 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 11 เดือน (First Year - 11 Months Old)
        • เด็กแรกเกิด - อายุ 12 เดือน (First Year - 12 Months Old)
    • การให้อาหารทารก (Feeding)
      • Alternative methods of infant feeding
        • Alternative methods of infant feeding
      • การให้นมจากขวด (Bottle Feeding)
        • นมผงสำหรับทารก (Formula Feeding)
      • การให้นมแม่ (Breast Feeding)
        • การให้นมแม่
      • อาหารบด (Solids)
        • อาหารเสริมสำหรับทารก (Solid Foods)
    • วัคซีน (Vaccinations)
      • วัคซีน (Vaccine Basic)
        • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในเด็กปลอดภัยหรือไม่? Are Immunizations safe?
        • การฉีดวัคซีนในเด็ก (The Importance of Vaccines)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็กทารก (Baby Sleep)
        • การกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับ (Getting Baby to Sleep)
        • การนอนของเด็กแรกเกิด (Baby Bedtime Routine)
        • การนอนหลับในเด็ก (Baby Sleep)
        • ฝึกเด็กวัยแรกเกิดให้นอนเองและนอนได้นาน (Baby Sleep Training Strategies)
  • เด็กวัยหัดเดิน
    • ดูทั้งหมด
    • พัฒนาการเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Development)
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน (Toddler Development - Month by Month)
    • สุขภาพและความปลอดภัยเด็ก (Health & Safety)
      • การนอนในเด็ก (Sleep)
    • การเล่น (Playtime)
    • อุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Gears)
      • จานและชามสำหรับทานอาหารของเด็กวัยหัดเดิน (Plates and Bowls for Toddler)
      • รั้วกั้นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Safety Gates)
      • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน (Toddler safety products)
      • เก้าอี้และโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (High Chair and Table for Toddler)
      • เตียงนอนสำหรับเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Bed)
  • เด็กก่อนวัยเรียน
    • ดูทั้งหมด
    • Covid-19
      • การเตรียมตัวเปิดเทอมในช่วงโควิด-19
      • หากสงสัยว่าลูกน้อยได้รับเชื้อไวรัส COVID 19
    • เด็กวัย 3 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • เด็กวัย 4 ขวบ
      • พัฒนาการเด็กในแต่ละเดือน
    • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
      • การฝึกเด็กขับถ่าย (Potty Training)
  • อุปกรณ์และของใช้เด็ก
    • ดูทั้งหมด
    • รถเข็น / คาร์ซีท / เป้อุ้ม และอุปกรณ์
      • คาร์ซีท (Carseat)
      • รถเข็น (Stroller)
      • อุปกรณ์อุ้มเด็ก (Baby Carrier)
    • อุปกรณ์การให้นม
      • ขวดนม (Milk Bottle)
      • จุกนม (Nipples)
      • หมอนรองให้นม (Nursing Pillow)
      • แปรงทำความสะอาดขวดนม (Bottle Brush)
    • เตียงนอนและอุปกรณ์ในห้องเลี้ยงเด็ก
      • ปลอกหุ้มเบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม (Changing pad cover)
      • เบาะนอนสำหรับเปลเด็ก (Crib Mattress)
      • เปลเด็ก (Crib and Mattress)
      • โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก (Dresser, Changing Table)
    • เสื้อผ้าและของใช้เด็กทารก
      • ชุดกลับบ้านของลูกน้อย (Going home outfit), หมวกสำหรับเด็ก (Baby cap)
      • ผ้าห่อตัวเด็ก (Swaddle), เสื้อคลุมเด็ก (Wearable blanket), เสื้อแบบใส่และถอดด้านข้าง (Side snap t-shirt)
PP 20K
  • หน้าแรก /
  • เด็กวัยแรกเกิด /
  • พัฒนาการลูกน้อย (Baby's Developement) /
  • พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 7 สัปดาห์ (Baby's Development Newborn to week 7) /
  • เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)

Advertisement

Plug&Play

เด็กอายุ 6 สัปดาห์ (6 Weeks Old Baby)

IN THIS SECTION

  • พัฒนาการของเด็กสัปดาห์ที่ 6
  • การเจริญเติบโตของเด็กสัปดาห์ที่ 6
  • สุขภาพของเด็กสัปดาห์ที่ 6
  • เคล็ดลับและเกร็ดความรู้สำหรับคุณ

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 เด็ก (Infant) จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากในสมองเนื่องจากการพัฒนาของระบบประสาท ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักมีการร้องไห้อย่างรุนแรงหรือเรียกว่าโคลิค (Colic) ในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งสาเหตุนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของลูกน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างยาวนาน นอกจากนี้ในช่วงนี้คุณแม่คุณพ่อจะสามารถเห็นได้ถึงความคืบหน้าของพัฒนาการด้านการควบคุมกล้ามเนื้อ (Physical development) ที่เด็กสามารถควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณคอได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเข้าสังคม (Communication and socialization development) โดยเด็กจะมีการส่งเสียงที่หลากหลายและลอกเลียนแบบเสียงของคุณแม่คุณพ่อ รวมไปถึงเด็กยังเริ่มรู้จักการปลอบประโลมตัวเอง (Self-soothing) อีกด้วย

พัฒนาการของเด็ก
Baby’s Development

พัฒนาการที่สำคัญสำหรับเด็กวัย 6 สัปดาห์หรือ 1 เดือนครึ่งนั้นยังคงเป็นพัฒนาการด้านการควบคุมกล้ามเนื้อซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวในอนาคต ขณะนี้คุณแม่คุณพ่อควรที่จะเห็นได้ถึงความคืบหน้าของพัฒนาการที่เกิดขึ้น โดยลูกน้อยสามารถที่จะยกศีรษะขึ้นและค้างไว้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆแต่ไม่ใช่เพียงหนึ่งวินาทีเหมือนสัปดาห์ก่อนๆ นอกจากนี้เด็กบางคนยังอาจเงยศีรษะได้แต่ก็เพียงในเวลาอันสั้นเท่านั้น นอกจากนี้เด็กยังสามารถหันศีรษะได้คล่องมากขึ้น และสามารถหันศีรษะเป็นการตอบสนองต่อการเกิดเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆตัว

สำหรับพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมนั้น เด็กในวัยนี้ควรที่จะมีการส่งเสียงอ้อแอ้ (Cooing) เสียงกลั้วในลำคอ และเสียงร้องครางได้แล้ว ซึ่งถือเป็นสามเสียงพื้นฐานที่เด็กอ่อนควรจะทำได้เมื่อมีอายุใกล้ 2 เดือน ในสัปดาห์นี้เด็กจะเริ่มมีการส่งเสียงด้วยระดับเสียงที่หลากหลายมากขึ้นและมีความพยายามลอกเลียนแบบเสียงของคุณแม่คุณพ่อเมื่อคุณแม่คุณพ่อพูดคุยด้วย ดังนั้นเมื่อพูดคุยกับลูกน้อย ขอให้คุณแม่คุณพ่อเว้นระยะระหว่างการพูดคุยเพื่อให้ลูกน้อยได้ใช้เวลาเรียนรู้ คิดตาม และส่งเสียงออกมาเป็นการตอบสนอง นอกจากนี้เด็กยังมีการยิ้มด้วยความตั้งใจ มากกว่าการยิ้มจากระบบตอบสนองอัตโนมัติ โดยลูกน้อยจะมีการจ้องมองไปที่คุณแม่คุณพ่อและยิ้มให้ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของพัฒนาการการเข้าสังคมของลูกน้อย

นอกจากนี้อีกพัฒนาการหนึ่งที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้คือเด็กเริ่มที่จะรู้จักการปลอบประโลมตัวเองแล้ว โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกไม่พอใจ ซึ่งเด็กจะหาสิ่งของมาปลอบประโลมตัวเองอันได้แก่ จุกปลอม (Pacifier) ผ้าห่ม ตุ๊กตา หรือแม้แต่มือของเขาเอง หากคุณแม่คุณพ่อสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีการใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อทำให้ตัวเขารู้สึกสบายใจ ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีให้คุณแม่คุณพ่อได้เริ่มฝึกลูกน้อยให้เข้านอน (Sleep training) เมื่อลูกน้อยรู้จักที่จะปลอบประโลมตัวเองดีแล้ว ลูกน้อยจะสามารถหลับได้ง่ายขึ้นและยาวนานขึ้น

การเจริญเติบโตของเด็ก
Baby’s Growth

ช่วงสัปดาห์นี้เด็กควรที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 0.33 ปอนด์ ถึง 0.44 ปอนด์ หรือประมาณ 150 กรัม ถึง 200 กรัม โดยในช่วงนี้คุณแม่คุณพ่อจะสามารถเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านระยะเวลาการให้นมแบบเข้าเต้า (Breast feeding) ซึ่งช่วงเวลาการให้นมนั้นยังควรเป็นช่วงเวลาเดิม ตอนนี้คุณแม่คุณพ่อคงพอทราบกิจวัตรและช่วงเวลาในการนอนหลับ การตื่น และการให้นมของลูกน้อยเป็นอย่างดีแล้ว หากคุณแม่ต้องประสบการให้นมในระยะเวลาที่ยาวนาน ในช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มคุ้นเคยกับการดื่มนมและเริ่มใช้เวลากับการดื่มนมน้อยลงแล้ว ซึ่งระยะเวลาในการให้นมครั้งหนึ่งจะเหลือเพียงประมาณ 15 นาที แต่สำหรับเด็กบางคนอาจเหลือเพียง 5 นาที สำหรับลูกน้อยที่รับน้ำนมทดแทน (Formula feeding) ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เนื่องจากลูกน้อยรู้สึกอิ่มนานขึ้น ระยะเวลาระหว่างการให้นมจึงห่างกันมากขึ้น จากเดิมที่ควรมีการให้น้ำนมทดแทนทุกๆ 2 ชั่วโมง ขณะนี้อาจเปลี่ยนเป็นทุกๆ 3 ถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อคุณแม่คุณพ่อหลายท่านทราบช่วงเวลาเหล่านี้แล้วก็มักจะจัดตารางเวลาการให้น้ำนมทดแทน แต่การทำเช่นนี้ไม่เป็นที่แนะนำนัก หากคุณแม่คุณพ่อต้องการจัดตารางเวลาการให้น้ำนมทดแทนลูกน้อยควรที่จะปรึกษากุมารแพทย์เสียก่อน

สำหรับช่วงเวลาการนอน (Sleep pattern) ในสัปดาห์นี้ลูกน้อยจะหลับในระยะเวลาที่นานขึ้น โดยรวมแล้วประมาณ 16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน อย่างไรก็ตามการนอนหลับที่ยาวนานนี้อาจไม่เกิดขึ้นในเวลากลางคืน เพราะเด็กยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเวลากลางวันและเวลากลางคืนดีนัก ดังนั้นเด็กอาจหลับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานในช่วงเวลากลางวันมากกว่าช่วงเวลากลางคืน

อย่างไรก็ตามในสัปดาห์นี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการเจริญเติบโตของลูกน้อยอีกสิ่งหนึ่งนั่นก็คือช่วงเวลาการร้องไห้อย่างรุนแรงหรือโคลิค การร้องไห้อย่างรุนแรงนั้นแตกต่างกับการร้องไห้แบบปกติของเด็กตรงที่จะเป็นการร้องไห้แบบแผดเสียง หน้าแดง เป็นการร้องไห้อย่างยาวนานประมาณ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ และมักเกิดช่วงเวลาเย็นถึงกลางคืน ช่วงเวลาการร้องไห้อย่างรุนแรงนี้มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 6 โดยนักวิจัยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนักว่าอะไรทำให้เกิดช่วงเวลาเหล่านี้ อย่างไรก็ตามโคลิคจะเกิดขึ้นยาวนานไป 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีช่วงเวลาและระยะเวลาการร้องไห้อย่างรุนแรงนั้นต่างกันไป แต่โคลิคจะไม่ส่งผลต่อการมีพัฒนาการของลูกน้อยอย่างแน่นอน

สุขภาพของเด็ก
Baby’s Health

เมื่อเด็กมีอายุครบ 6 สัปดาห์ ช่วงนี้อาจมีการเข้าพบแพทย์ตามการนัดหมายตรวจสุขภาพสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 8 สัปดาห์ โดยแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพทั่วไป วัดน้ำหนัก ความยาวร่างกาย และติดตามพัฒนาการ นอกจากนี้ยังอาจมีการพูดคุยกับคุณแม่คุณพ่อถึงโภชนาการ และแนะนำการฉีดวัคซีนสำหรับลูกน้อย (Infant immunization) ซึ่งการฉีดวัคซีนนั้นมักเริ่มตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไปเนื่องจากจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อตัวเด็ก การฉีดวัคซีนตั้งแต่ลูกน้อยยังเด็กนั้นมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากยิ่งเด็กอายุน้อย ความร้ายแรงของโรคก็ยิ่งมาก โดยวัคซีนที่มีความจำเป็นต่อเด็กวัยนี้จะสามารถป้องกันโรคอันตรายได้ถึง 12 โรค เช่น โรคโปลิโอ โรคไอกรน โรคหัดเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งวัคซีนนั้นแบ่งเป็น 3 ตัวได้แก่ DTaP/IPV/Hib/HB เป็นวัคซีน 2 เข็ม และเป็นแบบน้ำที่ลูกน้อยต้องกลืนอีก 1 ตัว โดยหากลูกน้อยเกิดอาการผิดปกติหลังการให้วัคซีนหรือเกิดอาการแพ้ คุณแม่คุณพ่อควรรีบพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์

สำหรับสัญญาณการเกิดโรคสำหรับเด็กวัย 6 สัปดาห์นั้นมีดังนี้

  • ลูกน้อยรับนมน้อยกว่าปกติไม่ว่าจะเป็นน้ำนมแม่หรือน้ำนมทดแทน
  • ลูกน้อยมีน้ำหนักที่ลดลง
  • ลูกน้อยตอบสนองในทางลบเช่นหงุดหงิด ร้องไห้ ต่อแสง กลิ่น เสียง การสัมผัส

เคล็ดลับและเกร็ดความรู้สำหรับคุณแม่หลังคลอด
Postpartum Tips and Information

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 เด็กส่วนมากมักมีการร้องไห้อย่างรุนแรง ซึ่งการร้องไห้อย่างรุนแรงหรือโคลิคนี้อาจส่งผลให้คุณแม่หลายท่านเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้คุณแม่ร้องไห้บ่อยครั้ง เหนื่อยล้า อ่อนแรง และมีปัญหาในการนอนหลับ โดยปกติแล้วภาวะนี้จะหายไปเองภายใน 10 วัน แต่หากคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับความรู้สึกเศร้าสลดเหมือนสูญเสียสิ่งสำคัญไป และมีการร้องไห้ที่บ่อยครั้งขึ้น คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

คุณแม่ควรพูดคุย เปิดเผยความรู้สึกของตนเอง

คุณแม่ไม่ควรแบกรับภาระการเลี้ยงดูลูกน้อยรวมไปถึงความรู้สึก ความกังวลใจต่างๆเอาไว้คนเดียว คุณแม่ควรพูดคุยและแบ่งปันความคิด ความรู้สึกที่มีกับสมาชิกในครอบครัว กับคุณพ่อ กับเพื่อนสนิท กับกลุ่มคุณแม่ด้วยกัน หรือกับแพทย์ การพูดคุยแบ่งปันความรู้สึกไม่เพียงแต่จะทำให้คุณแม่สบายใจมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณแม่มองเห็นปัญหาและแก้ไขได้อย่างตรงจุดและคุณแม่ไม่ควรลืมที่จะพักผ่อนให้เพียงพอ

ตัวอย่างวิธีการปลอบประโลมลูกน้อย

  • ใช้เสียงเพื่อปลอบประโลม เช่น การพูดคุยด้วยเสียงกระซิบ การร้องเพลงกล่อม การเปิดเพลงที่มีทำนองเพื่อการผ่อนคลาย
  • ลดปัจจัยภายนอกที่มักกระตุ้นให้ลูกน้อยร้องไห้อย่างหนัก โดยปัจจัยเหล่านี้มักเป็น แสงแดด เสียง พื้นผิวบางพื้นผิว
  • ลองให้ลูกน้อยได้ดูดจุกปลอมหรือสิ่งของอื่นๆที่ปลอดภัยต่อการดูดเช่น ผ้าสะอาด
  • ลองให้ลูกน้อยได้ปลอบประโลมตัวเอง โดยให้คุณแม่คุณพ่อวางลูกน้อยลงบนเตียง หน้าหงายขึ้น แผ่นหลังนาบเตียงนอน หรือพื้นที่ที่ปลอดภัยเป็นเวลา 5 ถึง 10 นาที บางครั้งการพยายามปลอบประโลมลูกน้อยก็อาจเป็นการกระตุ้นลูกน้อยมากเกินไป (Overstimulation) ดังนั้นบางครั้งเด็กก็เพียงแค่ต้องการที่จะได้พักจากการได้ยินเสียง การถูกสัมผัส และการมีปฏิสัมพันธ์






ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

Newkidscenter.org, 6 week old baby

https://www.newkidscenter.org/6-Week-Old-Baby.html

bellybelly.com.au, baby week by week, 6 week old baby

https://www.bellybelly.com.au/baby-week-by-week/6-week-old-baby/

sleepbaby.org, 6 week old baby milestones

https://sleepbaby.org/6-week-old-baby-milestones/

buckshealthcare.nhs.uk, health visiting, 6 weeks to 1 year

https://www.buckshealthcare.nhs.uk/Health-visiting/6-weeks-to-1-year.htm

hse.ie, services, publications, clinical strategy and programmes, paediatrics the six week check

https://www.hse.ie/eng/services/publications/clinical-strategy-and-programmes/paediatrics-the-six-week-check.pdf

zerotothree.org, resources, colic and crying

https://www.zerotothree.org/resources/197-colic-and-crying

raisingchildren.net.au, health reference, immunisation

https://raisingchildren.net.au/guides/a-z-health-reference/immunisation

plunket.org.nz, your child, newborn to 6 weeks, health and daily care, immunisation

https://www.plunket.org.nz/your-child/newborn-to-6-weeks/health-and-daily-care/immunisation/

Advertisement

{{ad1_name}}
{{ad2_name}}
{{ad3_name}}

Most Related

เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)

เด็กอายุ 5 สัปดาห์ (5 Weeks Old Baby)

สัปดาห์นี้อาจเป็นสัปดาห์ที่ยากลำบากสำหรับคุณแม่คุณพ่อบางท่าน เนื่องจากในสัปดาห์ที่  5 เด็ก (Infant) จะเข้าสู่ภาวะเติบโตอย่างรวดเร็ว (Growth sp...


เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)

เด็กอายุ 4 สัปดาห์ (4 Weeks Old Baby)

ในช่วงเดือนนี้ ลูกน้อยจะมีพัฒนาการด้านการควบคุมกล้ามเนื้อ (Physical development) ที่แข็งแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อคอ ไปจนถึงกล้ามเนื้อแขนและขา


ดูแหล่งที่มา ซ่อนแหล่งที่มา

nct.org.uk, baby toddler, your child’s development, your baby’s development 18-21 months

https://www.nct.org.uk/baby-toddler/your-childs-development/your-babys-development-18-21-months

theparentline.org, infant toddler development, 19-21 months

http://www.theparentline.org/infant-toddler-development/19-21-months/

theplab.net, 21 months old

https://theplab.net/21-months-old/

ecda.gov.sg, growatbeanstalk, documents, early years development framework 

https://www.ecda.gov.sg/growatbeanstalk/Documents/MCYS%20EARLY%20YEARS%20DEVELOPMENT%20FRAMEWORK.pdf

Kidspot.com.au, parenting, toddler, toddler development, your toddler at 21 months

https://www.kidspot.com.au/parenting/toddler/toddler-development/your-toddler-at-21-months/news-story/527ee914f42854251bbf4b1296b78c69

BabyToddlersKids

BabyToddlersKids.com เป็น The trustworthy pregnancy and baby information site. ที่ให้พ่อแม่ยุคดิจิตอล ที่ต้องการหาข้อมูล องค์ความรู้ เกี่ยวกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยก่อนเข้าเรียน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทั้งสถาบันวิจัยเฉพาะทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก สามารถนำข้อมูลจาก BabyToddlersKids.com ไปเป็นข้อมูลประกอบในการเตรียมพร้อม และดูแลลูกในด้านต่างๆ ต่อไป





Contact Us


  • [email protected]

388/52 ชิคดิสทริค
รามคำแหง 53 ถนนรามคำแหง พลับพลา
กรุงเทพมหานคร


Connect with us

  • TRACK พัฒนาการทารกในครรภ์

    กดปุ่ม Join Us เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ พร้อมข้อมูล คำแนะนำจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกในครรภ์และคุณแม่

    ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่พลาดการติดตามพัฒนาการลูก

  • Join Us

© 2019 babytoddlerskids.com. All Rights Reserved.